jump to navigation

ปฏิรูปการศึกษา : ปรับแต่ง หรือปรับรื้อระบบ ?? พฤษภาคม 15, 2009

Posted by 1000thainews in อื่นๆ.
Tags: , , , , , , , , , , , , , ,
add a comment

ปฏิรูปการศึกษา : ปรับแต่ง หรือปรับรื้อระบบ ??

สองวันนี้ คือ ระหว่างวันที่ 14-15 พฤษภาคม สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เชิญผู้สนใจซึ่งมีที่นั่งให้ 600 ที่ สำหรับเข้าร่วมงาน โครงการรวมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาไทย ในหัวข้อ ปฏิรูปการศึกษารอบสอง การประเมินรอบสาม : ปรับแต่ง หรือปรับรื้อระบบ ?? 

นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นผู้ปาฐกถาพิเศษเรื่อง ทิศทางและนโยบายของรัฐบาลต่อการปฏิรูปการศึกษารอบสอง ใช้เวลาอภิปรายครึ่งชั่วโมง ซึ่งมีเนื้อหาสาระมากกว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษา (ผู้อภิปรายก่อนหน้า) ราวกับว่าเป็นคนละงาน

แม้ท่านนายกฯ และนักปฏิรูปการศึกษา ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน จะประเมินไปในทางเดียวกันว่างานปฏิรูปขั้นต่อไปคือ การ “ปรับแต่ง” ระบบการศึกษาที่ทำต่อเนื่องกันมา ไม่ใช่การ “ปรับรื้อ” กล่าวคือ ที่ผ่านมา 9-10 ปี นับว่าทำได้ดี กระนั้นยังไปไม่ไกล หัวใจของการปฏิรูป คือ เรื่องคุณภาพการศึกษาและโอกาสการเข้าถึงการศึกษา ยังเป็นปัญหาอยู่ ดังนั้น การปฏิรูปรอบสอง การประเมินรอบสาม ต้องจับประเด็นหลักให้ได้   

ดูเหมือนว่านายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ จะทิ้งท้ายเรื่องโจทย์ปัญหา “คอขวด” ในระบบการศึกษาไทยไว้ให้นักปฏิรูปการศึกษาทั้งหลายได้คิดแก้ กล่าวว่า “ปัญหาเรื่องเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัยต้องแก้ให้สำเร็จ ถ้าไม่สามารถทะลุทะลวงตรงนี้ได้ การศึกษาทั้งระบบมีปัญหา… ผมพูดเสมอว่าเด็กเราเรียนมากเกินไป … และถ้าหากยังเอาการเข้ามหาวิทยาลัย มาเป็นเกณฑ์ ก็จะเปลี่ยนอะไรไม่ได้ …”

นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึง “แรงเฉื่อย” หรือ “แรงต่อต้าน” ที่มีอยู่ในสังคม ต่อการเปลี่ยนแปลง แรงเฉื่อยอุปสรรคอย่างหนึ่งที่นายกฯ กล่าวว่า “ไม่มีใครอยากพูดถึง” คือ ค่านิยมของคนในสังคม กล่าวคือ พ่อแม่ยังมีแต่โจทย์เดิมๆ คือทำอย่างไร ลูกจึงจะเข้ามหาวิทยาลัยได้ ทุกสิ่งทุกอย่างดูน่าเสียดายที่ นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ พูดถึงการให้ทุกฝ่ายเข้ามีส่วนร่วมน้อยไป กล่าวแต่เพียงว่าในด้านนี้มีการก้าวหน้าไปมาก ภาคธุรกิจเอกชนส่งเสริมการศึกษามากขึ้น ภาคประชาสังคมก็ส่งเสริมตื่นตัวมากขึ้น ในส่วนขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ ก็มีความเห็นไปในทางบวกว่า แม้การกระจายอำนาจจะเป็นไปอย่างช้าๆ แต่ อปท.ส่วนมากก็ไม่รอ เช่น การถ่ายโอน หรือในบางเรื่องก็ตัดสินใจเอง แก้ปัญหาเองในเรื่องการศึกษาท้องถิ่น ซึ่งบางทีก็มีงบให้ แต่บางทีก็ทำเอง ไม่มีงบประมาณ ชัดเจนว่าพ่อแม่ผู้ปกครองตื่นตัวในเรื่องการใช้สิทธิการศึกษา ซึ่งตรงนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม ในท่ามกลางเป้าหมายที่ยังไปไม่ถึง คือ คุณภาพการศึกษาที่ผู้เรียนได้ผลสัมฤทธิ์ และโอกาสการเข้าถึงการศึกษายังต้องแก้ไข ตลอดจน “แรงเฉื่อย” ในสังคม นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ ก็ได้ย้ำว่าถึงอย่างไร ขณะนี้เรื่องของการศึกษา 15 ปี ตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยม 6 รวมทั้ง ปวช. ปวส.  อาชีวศึกษา ก็ชัดเจนแล้วว่าเป็น สิทธิ ประชาชนรู้และตื่นตัวที่จะได้ใช้สิทธินี้ แม้การศึกษาจะยัง “ฟรีไม่จริง” แต่ก็นับว่าได้ประสบผลสำเร็จมากระดับหนึ่ง               

ก่อนจะจบการบรรยายพิเศษ นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ ดักคอนักปฏิรูปการศึกษาไว้ว่า “…ก็เหมือนรัฐธรรมนูญ ก็แก้ไขผ่านกันมาทุกจุดแล้ว สำคัญว่าเมื่อจะแก้อีก ก็ต้องแก้ให้ถูกจุด…อีก 10 ปีข้างหน้า ผมไม่อยากฟังที่จะว่ากันเรื่องเดิมๆ ว่าแก้ไม่สำเร็จ…ผมอยากให้ทำเป็นรอบสุดท้าย นำไปสู่ความสำเร็จ

อันที่จริง การที่นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ ได้ปรารภถึงรัฐธรรมนูญกับการปฏิรูปการศึกษา ในตอนท้ายนั้นนับเป็นการเปรียบที่คมคาย บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองตลอดจนบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมดซึ่งก็คือประชาชนพลเมืองเต็มขั้นทั้งหลายต่างก็อยากจะเห็น การแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลสำเร็จเช่นกัน

ในแง่หนึ่งระบบการศึกษาที่ดี ก็คงจะเหมือนๆ ระบบการปกครองที่ดีนั่นเองกระมัง คือ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ใครคนใดคนหนึ่ง หรือคณะบุคคลใดคณะหนึ่ง จะสร้างและหยิบยื่นให้ได้ แต่เป็นเรื่องของสมาชิกทุกคนที่มีอำนาจในการมีส่วนร่วมทางใดทางหนึ่ง จะต้องร่วมมือกันสร้างและปรับแต่งหรือรื้อสร้างใหม่ด้วยกันขึ้นมา 

ทำอย่างไรการออกแบบเขียนนโยบายและวิธีการปฏิรูปการศึกษารอบสองของเราจึงจะสอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยมากขึ้น    ไม่มีวันเสียละที่การปกครองระบอบที่ผิดหรือย่อหย่อนจากหลักการประชาธิปไตยจะสร้างระบบการศึกษาที่มีความเป็นประชาธิปไตย (มากขึ้น) ได้ พูดอีกทีก็คือว่า ระบบสังคมเช่นใดก็จะออกลูกระบบการศึกษา (และระบบการบริหารบ้านเมืองตลอดจนการออกกฎหมาย) เป็นเช่นนั้น

ดูจากระบบการศึกษาของประเทศที่ระบบประชาธิปไตยใช้การได้ค่อนข้างดี เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ซึ่งแม้ระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะดี แต่ทว่าความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นเศรษฐกิจมีมากกว่าในประเทศที่ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยค่อนข้างดีเหมือนกัน แต่ทว่าความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นเศรษฐกิจมีน้อยกว่า เช่น สวีเดน จะเห็นว่าการจัดการการศึกษาของประเทศสองกลุ่มนี้จะต่างกัน 

ระบบการศึกษาของสวีเดนทุกวันนี้เมื่อวัดผลประเมินผลด้วยระบบประเมินผลภายในและมาตรฐานการศึกษาสากล เช่น PISA สวีเดนได้ผลสัมฤทธิ์ประเมินดีอันดับแรกๆ ของโลก เป็นเวลาสิบกว่าปีมาแล้วที่สวีเดนลดการรวมศูนย์การจัดการศึกษาไปเรื่อยๆ ไม่ใช้ราชการเป็นศูนย์กลางสร้างนโยบายครอบไปทั่วประเทศเหมือนในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่ประชาธิปไตยบกพร่อง สวีเดนอนุญาตให้ใครก็ได้สามารถตั้งโรงเรียน “เสรี” (free) ขึ้นได้ ไม่ว่าขนาดจะเล็กแค่ไหน โดยใช้เงินสนับสนุนมาจากระบบคูปองการศึกษาของนักเรียนแต่ละคนที่ได้มาจากรัฐ นั่นเอง เปิดให้โรงเรียนค้ากำไรได้ และให้โรงเรียนแข่งขันมาตรฐานกันในระดับโรงเรียน

หากวิกฤติปิดโรงเรียนเล็กของทางราชการในสวีเดนช่วงทศวรรษ 1990 ได้กลายมาเป็น โอกาส ของพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนมากที่เปิดโรงเรียนของตนเองและของชุมชนขึ้นมา นับจนถึงวันนี้ ในสวีเดนมีโรงเรียนเสรีแบบที่ว่านี้ 900 กว่าโรงเรียนแล้ว ได้เริ่มส่งผลถึงประเทศอื่นๆ ที่ว่ามีระบบการศึกษาดี อย่างเช่น ในอังกฤษ แต่ทว่าก็มีปัญหาของมัน ให้เริ่มหันมาทดลองใช้นัยว่าเพื่อจะแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ยังเหลื่อมล้ำกันอยู่ในประเทศของตน แต่ของเราเล่า การ (จะ) ปิดโรงเรียนเล็กของเราก็โดยราชการ และเป็นราชการอีกนั่นแหละที่หาวิธีไม่ปิดและคิดเอาระบบรวมโรงเรียนเล็ก รวมทรัพยากรมาใช้ในระหว่างโรงเรียนเล็กๆ ด้วยกัน หาใช่การไปร่วมใช้ทรัพยากรจากโรงเรียนใหญ่ๆ ไม่ หรือหาทางส่งเสริมเติมแขนขาให้ชุมชนอันอาจจะเป็นภาคหรือโรงเรียนเอกชน เข้ามาร่วมเพื่อเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส

ถึงสังคมไทยไม่ใช่สังคมสวีเดน แต่ก็ทำให้เราต้องฉุกคิดเหมือนกันว่าที่เราหวังจะปฏิรูประบบการศึกษาให้ดีเพื่อสร้างสังคมดีนั้น ที่จริงมันน่าจะเป็นว่า สังคมดีสร้างระบบการศึกษาดี ก็ได้ไม่ใช่หรือ หรืออย่างน้อยสองอย่างนี้ก็ต้องเดินไปพร้อมๆ กัน รัฐบาลชุดนี้ควรจะใช้หลักการการกระจายอำนาจทางการการศึกษาให้ประชาชนมีส่วนร่วม และฟังผู้มีส่วนได้เสียให้มากขึ้นกว่าในชุดที่ผ่านๆ มา หาไม่แล้วก็อาจเป็นไปได้ว่า “ยิ่งปรับแต่ง ยิ่งแย่” หากยังไม่ยอม “ปรับรื้อ” และยังทู่ซี้กระจายอำนาจที่เคยกระจุกอยู่ส่วนกลางให้ไปกระจุกอยู่ที่หน่วยงานราชการต่างๆ ในความดูแลของกระทรวงศึกษา ซึ่งบัดนี้อุ้ยอ้ายใหญ่โตยิ่งขึ้นกว่าเดิม
 

อ่านต่อที่ : ปฏิรูปการศึกษา : ปรับแต่ง หรือปรับรื้อระบบ ??

สพท.เขต 5 อุบลราชธานีรวมพลังศรัทธา พฤษภาคม 15, 2009

Posted by 1000thainews in ทั่วไป.
Tags: , , , , , , , , , , , , , ,
add a comment

สพท.เขต 5 อุบลราชธานีรวมพลังศรัทธา

สร้างศาลาฯคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำนักงานพื้นที่การศึกษาเขต 5 อุบลราชธานี รวมศรัทธาข้าราชการ-ประชาชน กว่า 300,000 บาท สร้างศาลาเสริมสร้างคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นจุดรวมปฏิบัติธรรมพัฒนาส่งเสริมจริยธรรมข้าราชการครูนักเรียน และบุคลากร ทางการศึกษาในเขตพื้นที่ โดย นายวิชัย แสงศรี ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อุบลราชธานีเขต 5 กล่าวว่า สพท.อุบลราชธานี เขต 5 ร่วมกับชมรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา โดยสมาชิกชมรมและข้าราชการครูในสังกัดตลอดทั้งประชาชนได้ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์รวมเป็นเงินกว่า 300,000 บาทเศษ จัดสร้าง “ศาลาเสริมสร้างคุณธรรม” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 82 พรรษา และได้ต่อเติมอาคารถาวรชั้นเดียว ขนาด 16×10 เมตร และจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ใช้งบประมาณรวมกว่า 900,000 บาท
 
ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ประชุม อบรมสัมมนา และปฏิบัติธรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของข้าราชการ ครู-นักเรียน-บุคลากรทางการศึกษา ตามนโยบาย     กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 
นายวิชัย กล่าวว่า สำหรับ สพท.อุบลราชธา นีเขต 5 รับผิดชอบดูแลบริหารจัดการศึกษาในพื้นที่รับผิดชอบ 6 อำเภอคือ อ.เดชอุดม, บุณฑริก, นาจะหลวย, น้ำยืน, ทุ่งศรีอุดม และ กิ่งอำเภอน้ำขุ่น มีโรงเรียนในสังกัด รวมทั้งโรงเรียนเอกชน 279 แห่งมีข้าราชการครู-บุคลากรทางการศึกษา 3,780 คน และมีนักเรียนรวม 72,900 คน สำหรับ “ศาลาเสริมสร้างคุณธรรม” ได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันมหามงคล “วันฉัตรมงคล” โดยหลวงปู่เณรคำ ฉันติโก เจ้าอาวาสวัดป่าขันติธรรม อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ พระนักเทศน์-นักปฏิบัติ ชื่อดังได้เป็นประธานและเจริญเมตตาธรรมในพิธีเปิดเพื่อความเป็นศิริมงคล.

อ่านต่อที่ : สพท.เขต 5 อุบลราชธานีรวมพลังศรัทธา