jump to navigation

“หมอซินเธีย หม่อง”เปิดร.ร.เด็กด้อยโอกาสช่วยลูกพม่า พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in ทั่วไป.
Tags: ,
add a comment

“หมอซินเธีย หม่อง”เปิดร.ร.เด็กด้อยโอกาสช่วยลูกพม่า

"หมอซินเธีย หม่อง"เปิดร.ร.เด็กด้อยโอกาสช่วยลูกพม่า

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม  นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก  เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์พัฒนาการเรียนรู้เด็กด้อยโอกาส ( ซีดีซี. )  ที่อาคารเลขที่ 729 ถนนอินทรคีรี ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด โดยมีแพทย์หญิงซินเธีย หม่อง แพทย์อาสาชาวพม่า และผู้ได้รับรางวัลแม็กไซไซ สาขาพัฒนาสังคม และชุมชนดีเด่น กล่าวรายงาน ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ไทย  และชาวต่างประเทศ รวมทั้งชาวพม่าเชื้อสายต่างๆ

สำหรับการเปิดอาคารใหม่ดังกล่าวเพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กชาวพม่าทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาการเรียนรู้เพื่อเด็กด้อยโอกาสตั้งแต่ปีพ.ศ. 2538  เริ่มจากเด็กชั้นอนุบาล และในปัจจุบันศูนย์ฯมีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งสิ้น 947 คน  มีครู 47 คน ได้มีการประสานงานกับสำนักงานพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 อย่างต่อเนื่อง  และใช้หลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2551        

 

พญ.ซินเธีย หม่อง กล่าวว่า มีนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้มีปัญหาขาดแคลนงบประมาณ และคณะครูที่สอน ส่วนงบประมาณนั้น ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ

ด้านนายคมสัน กล่าวว่า เป็นความวิริยะ อุตสาหของพญ.ซินเธีย หม่อง ทำให้องค์กร และมูลนิธิต่างๆให้ความช่วยเหลือ และศูนย์ดังกล่าวเป็นที่พึ่งของชาวพม่า ที่เข้ามาขายแรงงาน โดยเฉพาะบุตรหลานที่ติดตามบิดา มารดา เข้ามาทำในประเทศไทย ได้มีโอกาสทางการศึกษา

 

สำหรับแพทย์หญิงซินเธีย หม่อง เป็นเจ้าของคลินิกแม่ตาว ซึ่งให้บริการรักษาฟรีผู้ป่วยชาวพม่าตามแนวชายแดน รวมทั้งในประเทศพม่าฟรี วันละ 400 – 500 คน ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในประเทศไทย  และองค์กรระหว่างประเทศ 

อ่านต่อที่ : “หมอซินเธีย หม่อง”เปิดร.ร.เด็กด้อยโอกาสช่วยลูกพม่า

14:38 น. หมอซินเธียเปิดศูนย์เรียนรู้เด็กด้อยโอกาสชี้ขาดงบดูแล พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in ข่าวด่วน.
Tags: ,
add a comment

14:38 น. หมอซินเธียเปิดศูนย์เรียนรู้เด็กด้อยโอกาสชี้ขาดงบดูแล

26 พค. 2552 14:38 น.

นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ได้เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์พัฒนาการเรียนรู้เด็กด้อยโอกาส (ซีดีซี.) ที่อาคารเลขที่ 729 ถนนอินทรคีรี ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยมีแพทย์หญิงซินเธีย หม่อง แพทย์อาสาชาวพม่า และผู้ได้รับรางวัลแม็กไซไซ สาขาพัฒนาสังคม และชุมชนดีเด่น กล่าวรายงาน ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ไทย และชาวต่างประเทศ รวมทั้งชาวพม่าเชื้อสายต่างๆ
สำหรับการเปิดอาคารใหม่ดังกล่าวเพื่อให้โอกาสทางการศึกษาแก่เด็กชาวพม่าทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาการเรียนรู้เพื่อเด็กด้อยโอกาสตั้งแต่ปีพ.ศ. 2538 ซึ่งเริ่มจากเด็กชั้นอนุบาล และในปัจจุบันศูนย์ฯมีนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมทั้งสิ้น 947 คน มีครู 47 คน ได้มีการประสานงานกับสำนักงานพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 อย่างต่อเนื่อง และใช้หลักสูตรจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีการศึกษา 2551
นางซินเธีย หม่อง กล่าวว่า มีนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้มีปัญหาขาดแคลนงบประมาณ และคณะครูที่สอน ส่วนงบประมาณนั้น ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ
ด้านนายคมสัน กล่าวว่า เป็นความวิริยะ อุตสาหของแพทย์หญิงซินเธีย ทำให้องค์กรและมูลนิธิต่างๆให้ความช่วยเหลือ และศูนย์ดังกล่าวเป็นที่พึ่งของชาวพม่า ที่เข้ามาขายแรงงาน โดยเฉพาะบุตรหลานที่ติดตามบิดา มารดา เข้ามาทำในประเทศไทย ได้มีโอกาสทางการศึกษา
สำหรับแพทย์หญิงซินเธีย หม่อง เป็นเจ้าของคลินิกแม่ตาว ซึ่งให้บริการรักษาฟรีผู้ป่วยชาวพม่าตามแนวชายแดน รวมทั้งในประเทศพม่าฟรี วันละ 400 – 500 คน ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในประเทศไทย และองค์กรระหว่างประเทศ
อ่านต่อที่ : 14:38 น. หมอซินเธียเปิดศูนย์เรียนรู้เด็กด้อยโอกาสชี้ขาดงบดูแล

ครม.อนุมัติงบฯ กว่า 1 พันล. เพิ่มห้องเรียนวิทย์ 20 ห้อง พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in ข่าวด่วน.
Tags: ,
add a comment

ครม.อนุมัติงบฯ กว่า 1 พันล. เพิ่มห้องเรียนวิทย์ 20 ห้อง
       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้สนับสนุนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนที่มีความร่วมมือของมหาวิทยาลัยกับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพิ่มอีก 20 ห้อง จากเดิมที่มีอยู่ 4 ห้องทั่วประเทศ โดยจะใช้งบประมาณจากปี 2553-2555 จำนวน 1,036 บาท
        ขณะเดียวกันยังได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) หาแนวทางในการเพิ่มห้องเรียนวิทยาศาสตร์ อีกประมาณ 100 ห้อง จากเดิมของ สพฐ.ที่มีอยู่ จำนวน 96 ห้องทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ผลิตนักเรียนที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น โดยการเพิ่มจำนวนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ดังกล่าวจะใช้งบประมาณจากโครงการเงินกู้ตามพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติ

อ่านต่อที่ : ครม.อนุมัติงบฯ กว่า 1 พันล. เพิ่มห้องเรียนวิทย์ 20 ห้อง

18:07 น. สพฐ.สั่งร.ร.ภาคใต้ให้ความรู้โรคชิคุนกุนยา พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in ข่าวด่วน.
Tags: ,
add a comment

18:07 น. สพฐ.สั่งร.ร.ภาคใต้ให้ความรู้โรคชิคุนกุนยา

26 พค. 2552 18:07 น.

นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ( กพฐ. ) เปิดเผยถึงการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยา (Chikungunya) ในภาคใต้ ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะให้สถานศึกษาในสังกัดโดยเฉพาะสถานศึกษาในภาคใต้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยาแก่นักเรียน สอนนักเรียนให้รู้ถึงความเป็นมาของโรคชิคุนกุนยา อาการของโรค รวมทั้งให้ความรู้ไปยังผู้ปกครองด้วย สำหรับเด็กโต ก็จะมีการส่งเสริมให้ทำโครงงานเรื่องโรคชิคุนกุนยา เพื่อหาความรู้ต่อยอดให้สูงขึ้นไป และมีองค์ความรู้ที่จะช่วยเหลือและป้องกันและในแนวทางการดำเนินการต่อไป
“แม้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ ให้ความดูแลเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม คิดว่าโรคนี้ไม่ธรรมดา ซึ่งขณะนี้กำลังติดต่อในพื้นที่ภาคใต้ ประกอบกับจำนวนผู้ติดเชื้อก็ยังไม่ลดลง เพราะว่าช่วงนี้เป็นหน้าฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ยุงมีการเพาะพันธุ์สูง อีกทั้งได้ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และหน่วยงานต่างๆ เพื่อดูแลในเชิงการป้องกัน โดยการขอให้ออกไปฉีดพ่นยา เพื่อกำจัดยุงที่เป็นพาหนะ ในโรงเรียนและสถานที่ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ รวมทั้งส่งเสริมให้โรงเรียนกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงด้วย เช่น หากพื้นที่ใดมีน้ำขังก็ให้ดูแลอย่างเป็นพิเศษ หรือพื้นที่ใดที่มีโพงหญ้าก็ให้ตัด เพื่อป้องกันการเพาะพันธุ์ของยุง อย่างไรก็ตามสำหรับการรักษาตัวของผู้ป่วยที่ติดเชื้อนั้น ทาง สธ.ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งดูแลอย่างเป็นพิเศษ”รองเลขาธิการกพฐ. กล่าว
อ่านต่อที่ : 18:07 น. สพฐ.สั่งร.ร.ภาคใต้ให้ความรู้โรคชิคุนกุนยา

18:23 น. ศธ.ห้ามลงโทษ เด็กขีด-เขียนหนังสือยืมเรียน พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in ข่าวด่วน.
Tags: ,
add a comment

18:23 น. ศธ.ห้ามลงโทษ เด็กขีด-เขียนหนังสือยืมเรียน

26 พค. 2552 18:23 น.

ศธ.ห้ามลงโทษ เด็กขีด-เขียนหนังสือยืมเรียน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่า ตนได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหนังสือถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ให้แจ้งไปยังสถานศึกษาทุกแห่งทราบว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)อนุญาติให้นักเรียนสามารถขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญ หรือจนบันทึกเขียนช็อตโน๊ต ลงในหนังสือยืมเรียนตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี ได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีร.ร.เข้าใจผิดไปออกกฎห้ามนักเรียนขีด-เขียนลงในหนังสือยืมเรียน หากใครฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ ตรงนี้ถือเป็นความเข้าใจผิด และหากรร.ใดที่มีกฎเกณฑ์ในเรื่องนี้ก็ขอให้ยกเลิกด้วย
คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีที่รมว.ศธ.มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง 3 ร.ร. ได้แก่ รร.นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย จ.ปทุมธานีและอีก 2 แห่งที่ จ.กาญจนบุรี คือ รร.กาญจนานุเคราะห์ และรร.วิสุทธรังษีที่ถูกร้องเรียนเรื่องการจัดซื้อหนังสือและการเรียกเก็บค่าบำรุงการศึกษา ว่า สำหรับในส่วนของร.ร. กาญจนานุเคราะห์ และรร.วิสุทธรังษี ทราบว่าการจัดส่งหนังสือของทั้ง 2 ร.ร.เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แต่อาจจะมีบางรายการที่ยังได้ไม่ครบตามจำนวน ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือเรียนนอกเวลา
เช่น หนังสือที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม สมบัติผู้ดี เป็นต้น อย่างไรก็ตามสพฐ.ได้ทำหนังสือมอบหมายให้สพท.เขตพื้นที่การศึกษา ลงไปปดูแลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้ว รวมถึงทำรายการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับผู้ปกครองว่า มีรายการใดบางที่ผู้ปกครองไม่ต้องจ่ายเงินให้กับรร.ส่วนที่เหลือที่ร.ร.จัดสอนเสริมให้ก็จะต้องไม่บังคับ แต่ขอให้เป็นไปตามความสมัครใจ ส่วนเรื่องการจัดส่งหนังสือเรียนนั้นขณะนี้พบว่าทุกรร.ได้รับหนังสือเรียนครบ 100% แล้ว แต่อาจจะยังไม่ครบทุกรายการที่สั่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือนอกเวลาที่ไม่กระทบกับการเรียนการสอนและคิดว่าน่าจะสามารถจัดส่งได้ครบภายใน 2 สัปดาห์
กรณีที่ร.ร.นวมินทราชินูทิศฯที่จัดตางรางสอนให้นักเรียนในรายวิชาความถนัดทั่วไป หรือGAT และ ในรายวิชาความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพหรือ PAT ซึ่งเป็นการสอบที่ต้องใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา หรือแอดมิชชั่นว่า คงต้องถือเป็นการสอนเสริมแต่ขอให้เป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครองและนักเรียนเอง
ด้าน ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) กล่าวว่า ส่วนตัวแล้วมองว่ารร.ควรจะใช้เวลาในชั่วโมงเรียนสอนให้ครบตามหลักสูตรเสียก่อน ไม่ใช่มาสอนเพื่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งเรื่องนี้สพฐ.คงต้องไปเข้าไปดูรายละเอียดและการเรียนการสอนของรร.ด้วย อย่างไรก็ตามข้อสอบ GAT/PAT นั้นสทศ.เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ของสทศ.แล้ว และทุกคนสามารถเข้าไปดูตัวอย่างข้อสอบได้ แต่ไม่มีเฉลยถูกผิดให้ดังนั้นหากรร.จะนำไปใช้ในการเรียนก
ารสอนก็จะต้องดูให้ดี

0 หทัยรัตน์ เรียบเรียง 0
Bottom of Form 1

อ่านต่อที่ : 18:23 น. ศธ.ห้ามลงโทษ เด็กขีด-เขียนหนังสือยืมเรียน

สพฐ.ประสานสธ.เร่งฉีดยากำจัดยุงตามโรงเรียน พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in ทั่วไป.
Tags: ,
add a comment

สพฐ.ประสานสธ.เร่งฉีดยากำจัดยุงตามโรงเรียน

สพฐ.ประสานสธ.เร่งฉีดยากำจัดยุงตามโรงเรียน

นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อดูแลป้องกัน และฉีดยากำจัดยุงที่เป็นพาหะนำโรคตามโรงเรียน และตามแหล่งเพาะพันธุ์ต่างๆ และขอให้โรงเรียนตรวจสอบบริเวณที่มีแอ่งน้ำ หรือน้ำกักขังตามที่ต่างๆ หากพบให้รีบกำจัดทันที โดยขอให้โรงเรียนทุกแห่งเข้มงวดในเรื่องนี้เป็นพิเศษด้วย อีกทั้ง ขอให้โรงเรียนให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และดูแลรักษาแก่นักเรียน และผู้ปกครอง พร้อมกับให้นักเรียนได้ทำโครงงานการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อ โดยเฉพาะโรคชิคุนกุนยา เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ อย่างไรก็ตาม สพฐ.กำลังรวบรวมจำนวนเด็กที่เป็นโรคนี้ด้วย

อ่านต่อที่ : สพฐ.ประสานสธ.เร่งฉีดยากำจัดยุงตามโรงเรียน

สพฐ.ดันตั้ง”หน่วยเฉพาะ”กันทุ่มเงินซื้อเสียงผู้แทนครูให้คุรุสภาเชือดถอนใบอนุญาตฯ เข้าข่ายผิดจรรยาบรรณ พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in ทั่วไป.
Tags: ,
add a comment

สพฐ.ดันตั้ง”หน่วยเฉพาะ”กันทุ่มเงินซื้อเสียงผู้แทนครูให้คุรุสภาเชือดถอนใบอนุญาตฯ เข้าข่ายผิดจรรยาบรรณ

สพฐ.ดันตั้ง"หน่วยเฉพาะ"กันทุ่มเงินซื้อเสียงผู้แทนครูให้คุรุสภาเชือดถอนใบอนุญาตฯ เข้าข่ายผิดจรรยาบรรณ

นายกสมาคม กก.ขั้นพื้นฐานแนะให้ใช้วิธีสรรหา-แต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. แทน เชื่อวิธีการเลือกตั้งมีครูใช้วิธีไม่โปร่งใสเข้ามาเป็นตัวแทน แต่เอาผิดไม่ได้ สพฐ.เสนอตั้ง"หน่วยเฉพาะ"ป้องกันการซื้อเสียง แนะคุรุสภาถอนใบอนุญาตฯ ได้ถ้าเข้าข่ายผิดจรรยาบรรณวิชาชีพ

จากกรณีที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาควบคุมการเลือกตั้งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา ที่จะมีการเลือกตั้งในเร็วๆ นี้ เพื่อไม่ให้เกิดการซื้อสิทธิขายเสียง ขณะที่เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ยืนยันไม่แก้กฎหมาย เพราะเพิ่งเริ่มใช้เมื่อปี 2551 และมองว่าเรื่องนี้อยู่ที่จิตสำนึกครูมากกว่านั้น

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า แนวทางการป้องปรามการทุ่มเงินซื้อเสียงเพื่อเข้ามาเป็นผู้แทนครูใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา 178 เขต ที่จะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 19 มิถุนายนนั้น ขณะนี้ได้สั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด รวมถึงจะมอบให้ผู้เชี่ยวชาญของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งดูแลในเรื่องต่างๆ ของ สพฐ.ให้ช่วยดูแลเรื่องการเลือกตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตฯ ด้วย ทั้งนี้ สพฐ.จะรวบรวมข้อมูลจากหลายทาง หากมีการร้องเรียนก็จะส่งเจ้าหน้าที่ลงไปตรวจสอบ

“ที่สำคัญในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ในวันที่ 27 พฤษภาคม สพฐ.จะเสนอขอตั้งหน่วยเฉพาะ เพื่อติดตามดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ อีกทั้งจะขอให้โรงเรียนที่มีสภานักเรียนเข้มแข็ง ส่งนักเรียนเข้าไปสังเกตการณ์การเลือกตั้งของ อ.ก.ค.ศ.เขตฯ ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้กระบวนการหนึ่งของประชาธิปไตยด้วย อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว ยังไม่เคยเห็นครูซื้อเสียงเข้ามาเป็นกรรมการ แต่ครูที่มีพรรคพวกเพื่อนฝูงก็อาจไปเจรจาชักชวนขอให้ช่วยสนับสนุนตัวเอง ซึ่งอาจเป็นบล็อคโหวตได้” นายสมเกียรติกล่าว

นายพิษณุ ตุลสุข ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ สพฐ.กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ว่าการซื้อสิทธิขายเสียงไม่ได้เป็นเหมือนกันทุกเขต มีเพียงบางเขตที่ได้ยินข่าวว่า มีการจัดเลี้ยงเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ แต่ก็ยังเป็นแค่ข่าวลือ ไม่มีหลักฐาน และพยานยืนยัน จึงไม่อาจเอาผิดได้ แต่ถ้ามีจริงก็ถือว่าไม่ถูกต้อง ผิดจรรยาบรรณ และเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีแก่นักเรียนในเรื่องประชาธิปไตย หากใครพบเบาะแสก็ขอให้ร้องเรียนมาที่คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ.และตน เพื่อตรวจสอบเอาผิดต่อไป โดยจะเก็บข้อมูลของผู้ร้องเรียนเป็นความลับ ซึ่งบางกรณีแม้ไม่อาจเอาผิดทางวินัย แต่หากเข้าข่ายผิดจรรยาบรรณวิชาชีพครู คุรุสภาก็สามารถพิจารณาถอดถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้

“ขอให้ทุกคนสำนึกในความเป็นครู เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน และต่อต้านพฤติกรรมซื้อสิทธิขายเสียง ซึ่งนายจุรินทร์ได้มอบนโยบายให้ ผอ.สพท.ช่วยดูแล อีกทั้ง สพฐ.อาจเสนอที่ประชุม ก.ค.ศ.เพื่อพิจารณาให้ ก.ค.ศ.ออกหลักเกณฑ์การควบคุมการเลือกตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตฯ รวมทั้ง ขอให้คุรุสภาดูแลควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด” นายพิษณุกล่าว

นายบรรจง พงศ์ศาสตร์ นายกสมาคมกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า การออกกฎระเบียบมาควบคุมเรื่องเลือกตั้งนั้น คงทำได้เพียงป้องปราม แต่ไม่สามารถป้องกันได้ เพราะเป็นเรื่องของจิตสำนึก เชื่อว่าในการเลือกตั้ง อ.ก.ค.ศ.เขตฯ ครั้งนี้ จะมีผู้แทนครูบางคนเข้ามาอย่างไม่โปร่งใส แต่จะตามไปเอาผิดไม่ได้ เพราะไม่มีหลักฐาน เนื่องจากคนที่จ้องกระทำผิด ย่อมต้องหาทางซ่อนหลักฐาน

นายบรรจงกล่าวว่า ขอเสนอให้มีการสรรหาและแต่งตั้งแทนการเลือกตั้งที่เลียนแบบสนามเลือกตั้งระดับชาติ โดยในส่วนของการสรรหานั้น ขอให้ตั้งคณะกรรมการจากบุคคลที่มีตำแหน่งและน่าเชื่อถือ มาดำเนินการสรรหาใน 76 จังหวัด จากนั้นเสนอ ศธ.เพื่อแต่งตั้ง การใช้กระบวนการสรรหาและแต่งตั้ง เชื่อว่าจะลดปัญหาการซื้อสิทธิขายเสียงในการเลือกผู้แทนครูใน อ.ก.ค.ศ.เขตฯ ได้ เพราะคงไม่มีใครอยากเอาตำแหน่งหน้าที่การงานของตัวเองมาเสี่ยงทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

อ่านต่อที่ : สพฐ.ดันตั้ง”หน่วยเฉพาะ”กันทุ่มเงินซื้อเสียงผู้แทนครูให้คุรุสภาเชือดถอนใบอนุญาตฯ เข้าข่ายผิดจรรยาบรรณ

ร้อง144เรื่อง”เรียนฟรี15ปี””จุรินทร์”คาดโทษผอ.ร.ร.แจกหนังสือไม่ครบ พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in คุณภาพชีวิต.
Tags: ,
add a comment

ร้อง144เรื่อง”เรียนฟรี15ปี””จุรินทร์”คาดโทษผอ.ร.ร.แจกหนังสือไม่ครบ

คมชัดลึก : ผู้ปกครองประท้วงไล่ผู้อำนวยการโรงเรียน สาเหตุเพราะนักเรียนไม่มีหนังสือเรียน หรือบางโรงเรียนได้รับแจกเพียงวิชาภาษาไทย ไม่ครบ 8 กลุ่มสาระเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่รวมปัญหาอีกมากมาย กลายเป็นชนวนเหตุให้

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการที่เกี่ยวข้องต่างเรียงหน้าออกมาชี้แจงนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ด้วยการไล่บี้ทุกโรงเรียนตรวจสอบประเด็นร้องเรียนที่พ่อแม่ผู้ปกครองร้องเรียนมาด่วน!

 นายจุรินทร์เปิดฉากแจกแจงหลังประชุมเครียดกับผู้บริหาร 5 องค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักบริหารงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ผู้ปกครองร้องเรียนเข้ามาเกี่ยวกับการที่สถานศึกษาไม่ปฏิบัติตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างคุณภาพ

 “จากรายงานพบว่า สถานศึกษาสังกัด สพฐ.ถูกร้องเรียน 144 เรื่อง จากโรงเรียน 115 แห่งทั่วประเทศ ถือว่าน้อยเมื่อเทียบโรงเรียนทั้งหมด 3.2 หมื่นแห่ง เกือบทั้งหมดเป็นประเด็นที่ร้องเรียนเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินของโรงเรียน แยกเป็นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการเก็บเงินบำรุงการศึกษา 40 เรื่อง, การเก็บเงินระดมทรัพยากร 11 เรื่อง, การเก็บค่าห้องเรียนพิเศษ (ภาษาต่างประเทศ) 2 เรื่อง, ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น ค่าจ้างครู ค่าสาธารณูปโภค ค่าสอนคอมพิวเตอร์ ค่าทัศนศึกษา 36 เรื่อง, ค่าใช้จ่ายเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ เช่น ค่าประกันชีวิต ค่าตรวจสุขภาพนักเรียน 33 เรื่อง และโรงเรียนแจกคูปองแทนเงินสดในหมดค่าชุดนักเรียน 14 เรื่อง” รมว.ศึกษาธิการระบุ

 ทั้งนี้ ได้มอบให้ สพฐ.ไปตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมกับตรวจสอบข้อเท็จจริงจากโรงเรียนที่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้ปกครองเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ซึ่ง สพฐ.สำรวจพบว่า โรงเรียนใน กทม.ประมาณ 5% เรียกเก็บเงินเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว

 ส่วนสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ร้องเรียนมา 9 เรื่องจากวิทยาลัยทั้งหมด 404 แห่ง และได้สั่งการให้ สอศ.ตรวจสอบพร้อมรายงานผลภายใน 2 สัปดาห์ แต่วิทยาลัย 9 แห่ง ที่ถูกร้องเรียนพบว่ามีการปรับปรุงแก้ไขไปก่อนหน้านี้แล้ว เช่น วิทยาลัยไม่จ่ายเป็นเงินสดในหมวดชุดนักศึกษา และอุปกรณ์การเรียน แต่เมื่อ สอศ.ประสานไปยังสถานศึกษาแล้ว ทางสถานศึกษามีการปรับปรุงแก้ไขข้อผิดพลาดเรียบร้อยแล้ว รวมถึงกรณีมีการร้องเรียนที่ จ.อุบลราชธานี ที่เด็กร้องเรียนว่าไม่ได้รับเงินค่าอุปกรณ์การเรียนและชุดนักเรียน จากการสอบก็พบว่าเด็กคนดังกล่าวไม่มีใบ รบ. ทางวิทยาลัยจึงไม่กล้าจ่ายเงินให้ แต่เมื่อเด็กนำใบ รบ.มาแสดง ทางวิทยาลัยก็จ่ายเงินให้เรียบร้อยแล้ว

 รมว.ศึกษาธิการกล่าวต่อว่า ได้สั่งการให้ สช.นั้นตรวจสอบโรงเรียนเอกชนในสังกัดว่า มีโรงเรียนเอกชนแห่งใดไม่ยอมลดค่าเทอมลงบ้าง เพราะในปีนี้รัฐบาลได้เพิ่มเงินอุดหนุนให้โรงเรียนเอกชน จาก 60% เป็น 70% โดยมีเงื่อนไขว่าโรงเรียนต้องลดการเก็บค่าเทอมลงตามสัดส่วน หากมีโรงเรียนใดไม่ยอมลด นอกจากโรงเรียนจะต้องคืนเงินแก่ผู้ปกครองแล้ว จะต้องถูกดำเนินการลงโทษตามระเบียบ สช.ด้วย ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ สช.รายงานภาพรวมการเรียกเก็บค่าเทอมของโรงเรียนเอกชนทั้งหมดมาด้วย

 “ผมได้สั่งการให้ สพฐ.ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงโรงเรียน 3 แห่ง ที่ถูกร้องเรียนเรื่องการจัดซื้อหนังสือและการเรียกเก็บค่าเทอมซึ่งก็คือ ร.ร.นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย ปทุมธานี และอีก 2 แห่งที่ จ.กาญจนบุรี คือ ร.ร.กาญจนานุเคราะห์ และ ร.ร.วิสุทธรังษี หากพบว่ามีมูลก็ให้ตั้งกรรมการสอบวินัย เพราะผมต้องการเห็นค่าเทอมลดลงจริงๆ ต้องการลดค่าใช้จ่ายให้ผู้ปกครองและนักเรียนโดยตรง และต้องการให้ทุกอย่างดำเนินการไปตามนโยบายของรัฐบาล และกฎระเบียบที่ ศธ.ได้ชี้แจ้งให้ทางสถานศึกษาทราบมาก่อนหน้านี้เป็นลำดับแล้ว ถึงแม้ในส่วนที่มีปัญหาจะเป็นส่วนน้อย แต่ผมก็ได้มอบว่า ให้ดำเนินการไปตามระเบียบ ยอมรับว่ามีปัญหาในทางปฏิบัติอยู่บ้าง เพราะเป็นโครงการที่เริ่มต้นในปีแรก แต่จะให้มีปัญหาน้อยที่สุด และถ้าพบว่าเป็นปัญหาที่เกิดจากความบกพร่องของฝ่ายใดก็จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป เพราะในทางนโยบายและในทางปฏิบัตินั้น ศธ.ได้ชี้แจงให้สำนักงานเขตพื้นที่ และ ผอ.สถานศึกษาได้เข้าใจทั่วถึงไปตามลำดับแล้ว” นายจุรินทร์ กล่าว

 นายจุรินทร์ ย้ำว่า กรณีที่โรงเรียนยังแจกหนังสือเรียนให้นักเรียนไม่ครบทั้งที่เปิดเทอมแล้วนั้น หากโรงเรียนได้ดำเนินการตามขั้นตอนแล้ว แต่เป็นเพราะร้านค้าส่งหนังสือบางรายการล่าช้า ไม่ถือเป็นความผิดของผู้บริหารโรงเรียน แต่ต้องปรับร้านค้าฐานไม่สามารถส่งหนังสือได้ตามกำหนดในสัญญา และต้องรีบเปลี่ยนรายการหนังสือใหม่ หากหนังสือที่สั่งไปขาดตลาด เพื่อให้นักเรียนมีหนังสือเรียนครบโดยเร็วที่สุด แต่หากโรงเรียนใดไม่ได้จัดซื้อหนังสือตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ จะถือว่ามีความผิด

 คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า โรงเรียนที่ถูกร้องเรียนเข้ามาส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนดังๆ ซึ่งอยู่ทั่วประเทศ ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ใน กทม.เท่านั้น ส่วนกรณี ร.ร.นวมินฯนั้น ขณะนี้ สพท.ปทุมธานี เขต 2 ได้เข้าไปตรวจสอบภายใน เรื่องเงินและสอบเรื่องอื่นๆ เช่น ขั้นตอนการจัดซื้อหนังสือ การจัดตารางสอน ซึ่งเป็นมูลเหตุที่ผู้ปกครองร้องเรียนเข้ามา คิดว่าวันที่ 26 พฤษภาคมนี้ จะได้ข้อมูลที่ชัดเจน

 ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะรักษาการ ผอ.องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการสวัสดิการ และสวัสดิภาพครู และบุคลากรทางการศึกษา (องค์การค้าของ สกสค.) กล่าวว่า โรงเรียนที่ยังได้หนังสือไม่ครบนั้น ตรวจสอบแล้วไม่ใช่รายการที่สั่งซื้อจากองค์การค้าของ สกสค. โดยองค์การค้าของ สกสค.สามารถจัดส่งหนังสือให้ร้านค้ากับโรงเรียนที่สั่งซื้อหนังสือได้ตรงตามแผนที่กำหนดไว้ แต่ปัญหาที่เกิดน่าจะเป็นเรื่องของร้านค้า

 0 สุพินดา ณ มหาไชย 0 รายงาน

อ่านต่อที่ : ร้อง144เรื่อง”เรียนฟรี15ปี””จุรินทร์”คาดโทษผอ.ร.ร.แจกหนังสือไม่ครบ

ศธ.ห้ามลงโทษนักเรียนขีด-เขียนตำรายืมเรียน พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in คุณภาพชีวิต.
Tags: ,
add a comment

ศธ.ห้ามลงโทษนักเรียนขีด-เขียนตำรายืมเรียน

คมชัดลึก :นายจุรินทร์ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เปิดเผยว่าได้ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ทำหนังสือถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)แจ้งไปยังสถานศึกษาทุกแห่งว่า

ศธ.อนุญาตให้นักเรียนขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญหรือจดบันทึกลงในหนังสือยืมเรียนตามโครงการเรียนฟรี 15 ปีได้  ที่ผ่านมามีโรงเรียนเข้าใจผิดไปออกกฎห้ามเรื่องนี้ หากโรงเรียนใดที่มีกฎเรื่องนี้ขอให้ยกเลิกด้วย

คุณหญิงกษมาวรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่รมว.ศธ.ได้ให้สพฐ.ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงร.ร.นวมินทราชินูทิศสวนกุหลาบวิทยาลัย จ.ปทุมธานีและร.ร.กาญจนานุเคราะห์ และร.ร.วิสุทธรังษีในจ.กาญจนบุรีที่ถูกร้องเรียนจัดซื้อหนังสือและเก็บค่าบำรุงการศึกษาว่า การจัดส่งหนังสือของร.ร.ทั้ง2 แห่งที่จ.กาญจนบุรีเป็นไปตามเกณฑ์  อาจจะมีบางรายการยังได้ไม่ครบ  ส่วนใหญ่เป็นหนังสือนอกเวลา

“สพฐ.ได้ให้เขตพื้นที่ฯลงไปดูแลและชี้แจงผู้ปกครองว่า มีรายการใดที่ไม่ต้องจ่ายเงินให้ร.ร.  ส่วนการจัดส่งหนังสือเรียนพบว่าทุกร.ร.ได้หนังสือเรียนครบ100% แล้วแต่อาจจะยังไม่ครบทุกรายการ ส่วนใหญ่เป็นหนังสือนอกเวลา” เลขาธิการกพฐ. กล่าว

คุณหญิงกษมายังกล่าวถึงกรณีร.ร.นวมินทราชินูทิศฯจัดตางรางสอนให้นักเรียนในรายวิชาความถนัดทั่วไป(GAT) และในรายวิชาความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ(PAT ) ว่า  ขอให้เป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครองและนักเรียน

 ศ.ดร.อุทุมพรจามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สทศ.) กล่าวว่าร.ร.ควรใช้เวลาในชั่วโมงเรียนสอนให้ครบตามหลักสูตรเสียก่อน

อ่านต่อที่ : ศธ.ห้ามลงโทษนักเรียนขีด-เขียนตำรายืมเรียน

จุรินทร์สั่งร.ร.อุ้มเด็กเรียนต่อม.4ทุกคน พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in ทั่วไป.
Tags: ,
add a comment

จุรินทร์สั่งร.ร.อุ้มเด็กเรียนต่อม.4ทุกคน

รมว.ศึกษาฯ สั่งทุกร.ร.รับเรียนต่อชั้นม.4ทุกคน ห้ามลงโทษเด็กขีดเขียนหนังสือยืม สพฐ.แจงรายการที่เรียกเก็บได้ เพิ่มห้องวิทยาศาสตร์กว่า100ห้อง

ที่กระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวประจำกระทรวงศึกษาธิการ ภายหลังเสร็จสิ้นจากการเข้าร่วมประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ร.ร.มัธยมส่วนใหญ่จะมีการกำหนดคะแนนเฉลี่ยขั้นต่ำที่นักเรียนจบมัธยมต้นจะต้องทำให้ได้จึงจะมีสิทธิได้เรียนต่อระดับม.ปลายที่ ร.ร.เดิมต่อไป หากนักเรียนรายใดได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ จะต้องออกไปเรียนที่ร.ร.อื่น หรือถ้ายังต้องการเรียนที่เดิมต่อไป ก็จะต้องไปสอบคัดเลือกเข้ามาเรียนใหม่แข่งกับนักเรียนจากร.ร.อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองได้ร้องเรียนเข้ามาว่า ระบบเช่นนี้นอกจากนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ โดยเฉพาะทำให้เกิดการเรียกรับเงินแลกกับการรับเข้าเรียน ม.4

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า เพราะฉะนั้นจึงได้มอบให้คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) ไปดำเนินการให้ ร.ร.มัธยมในสังกัด สพฐ.ยกเลิกการกำหนดเกณฑ์คะแนนผลการเรียนขั้นต่ำสำหรับพิจารณาเรียนรับเรียนต่อม.ปลาย ต่อไปร.ร.จะต้องรับนักเรียนที่จบม.ต้นทุกคนขึ้นศึกษาต่อในระดับ ม.ปลายโดยไม่มีการพิจารณาผลการเรียน ยกเว้น ร.ร.ที่รับม.ปลายน้อยกว่า ม.ต้น ซึ่งจำเป็นต้องคัดเด็กบางส่วนออกนั้น ก็ให้จัดทำเกณฑ์ที่เหมาะสมในการพิจารณามา

“เด็กเรียนจนจบ ม.3 แล้ว มีผลการเรียนที่ต่ำ จะถือว่าเป็นความผิดของเด็กฝ่ายเดียวนั้น ผมถือว่าไม่ยุติธรรม อีกครึ่งหนึ่งเป็นความรับผิดชอบของโรงเรียนด้วย เพราะฉะนั้น โรงเรียนจึงไม่ควรตั้งเกณฑ์คะแนนผลการเรียนขั้นต่ำมาใช้คัดเลือกนักเรียน ม.ต้น เรียนต่อ ม.ปลาย เมื่อเด็กเข้าเรียน ม.1 แล้ว ก็ควรจะโอกาสเรียนจนจบ ม.6 ไม่ใช่พอเด็กเรียนไม่เก่ง ก็จะให้เด็กย้ายไปเรียนที่โรงเรียนอื่น ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้เลขาธิการ กพฐ. ไปศึกษาดูว่า จะต้องแก้ไขระเบียบใดหรือไม่เพื่อรองรับนโยบายในเรื่องนี้” 

นายจุรินทร์ กล่าวต่อว่า ส่วนที่เกรงจะให้รับเรียนจบชั้นม.3 ทั้งหมดเข้าเรียนต่อชั้นม.ปลาย อาจจะกระทบต่อแผนการส่งเสริมให้เด็กเรียนต่อสายอาชีพมากขึ้นนั้น ถือว่าเป็นคนละเรื่องกัน กระทรวงศึกษาธิการยังคงส่งเสริมเด็กให้เรียนต่อสายอาชีพ แต่การที่ตนออกนโยบายนี้มาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อเด็ก ม.ต้น และไม่ต้องการแก้ไขปัญหาเรียกเก็นเงินเพื่อแลกรับเข้าเรียน ซึ่งเป็นผลตามมาจากการที่ ร.ร.คัดเด็กม.ต้นที่ผลการเรียนต่อกว่าเกณฑ์ออก

ศธ.ห้ามลงโทษเด็กขีด-เขียนหนังสือยืมเรียน

นายจุรินทร์ เปิดเผยว่า มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหนังสือถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) ให้แจ้งไปยังสถานศึกษาทุกแห่งทราบว่า กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) อนุญาติให้นักเรียนสามารถขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญ หรือจนบันทึกเขียนช็อตโน๊ต ลงในหนังสือยืมเรียนตามโครงการเรียนฟรี 15 ปี ได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีร.ร.เข้าใจผิดไปออกกฎห้ามนักเรียนขีด-เขียนลงในหนังสือยืมเรียน หากใครฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ ตรงนี้ถือเป็นความเข้าใจผิด และหากรร.ใดที่มีกฎเกณฑ์ในเรื่องนี้ก็ขอให้ยกเลิกด้วย

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้ากรณีที่รมว.ศธ.มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริง 3 ร.ร. ได้แก่ รร.นวมินทราชินูทิศ สวนกุหลาบวิทยาลัย จ.ปทุมธานีและอีก 2 แห่งที่ จ.กาญจนบุรี คือ รร.กาญจนานุเคราะห์ และรร.วิสุทธรังษีที่ถูกร้องเรียนเรื่องการจัดซื้อหนังสือและการเรียกเก็บค่าบำรุงการศึกษา ว่า สำหรับในส่วนของร.ร. กาญจนานุเคราะห์ และรร.วิสุทธรังษี ทราบว่าการจัดส่งหนังสือของทั้ง 2 ร.ร.เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แต่อาจจะมีบางรายการที่ยังได้ไม่ครบตามจำนวน ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือเรียนนอกเวลา

เช่น หนังสือที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม สมบัติผู้ดี เป็นต้น อย่างไรก็ตามสพฐ.ได้ทำหนังสือมอบหมายให้สพท.เขตพื้นที่การศึกษา ลงไปปดูแลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้ว รวมถึงทำรายการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับผู้ปกครองว่า มีรายการใดบางที่ผู้ปกครองไม่ต้องจ่ายเงินให้กับร.ร.ส่วนที่เหลือที่ ร.ร.จัดสอนเสริมให้ก็จะต้องไม่บังคับ แต่ขอให้เป็นไปตามความสมัครใจ ส่วนเรื่องการจัดส่งหนังสือเรียนนั้นขณะนี้พบว่าทุกรร.ได้รับหนังสือเรียนครบ 100% แล้ว แต่อาจจะยังไม่ครบทุกรายการที่สั่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือนอกเวลาที่ไม่กระทบกับการเรียนการสอนและคิดว่าน่าจะสามารถจัดส่งได้ครบภายใน 2 สัปดาห์ 

ครม.ไฟเขียว ศธ.เพิ่มจำนวนห้องวิทยาศาสตร์กว่า 100ห้อง

ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์อีกว่า กระทรวงได้รับความเห็นชอบจากครม. ให้เพิ่มจำนวนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการ มีโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนจุฬาภรณ์ เป็นหลักสำหรับรองรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์

นอกจากนั้น ร.ร.ในสังกัดสพฐ.ได้เปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์อทั้งหมด 96 ห้อง ขณะเดียวกันกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ยังร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ทำโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) เปิดห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในร.ร.มัธยม 4 แห่งโดยมีมหาวิทยาลัยจับคู่เป็นพี่เลี้ยง ได้แก่ ม.เชียงใหม่(มช.)กับโรงเรียนสาธิต มช., ม.วิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.อ.)กับโรงเรียนสาธิต ม.อ.วิทยานุสรณ์,ม.เทคโนโลยีสุรนารีกับโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย และม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกับโรงเรียนดรุณสิกขาลัย

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่าที่ประชุมครม.เมื่อวันที่  26 พ.ค.เห็นชอบให้ขยายโครงการ “วมว.”อีก 20 โรงเรียน ภายในระยะเวลา 3 ปี(ปีงบประมาณ 2553-2555) ใช้งบประมาณทั้งสิน 1,036 ล้านบาท นอกจากนั้น ยังเห็นชอบให้ ศธ.ขอกู้เงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 มาเปิดห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในร.ร.สังกัด สพฐ.อีก 96 ห้อง โดย ให้ สพฐ. และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมมือกันคัดเลือกร.ร.ที่มีความพร้อมและคัดเลือกมหาวิทยาลัยมาเป็นพี่เลี้ยงให้แต่ละร.ร.ด้วย

“การขยายห้องเรียนวิทยาศาสตร์ เพราะต้องการผลิตนักเรียนด้านวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ซึ่งวงเงินในส่วนการขยายห้องเรียนยังไม่ชัดเจนต้องให้ 2 หน่วยงานไปทำรายละเอียดมาก่อน แต่ก็พบว่าในปีการศึกษา 2551 มีนักเรียนสนใจสมัครโครงการ วมว.เป็นจำนวนมากถึง 21,669 คน แต่รับได้เพียง 3,528 คน คิดเป็นร้อยละ 16.28″ นายจุรินทร์ กล่าว

อ่านต่อที่ : จุรินทร์สั่งร.ร.อุ้มเด็กเรียนต่อม.4ทุกคน