jump to navigation

อยุธยาอลิอันซ์ ซี.พี. คาดเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นไตรมาส 2 พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in เศรษฐกิจ.
Tags: ,
add a comment

อยุธยาอลิอันซ์ ซี.พี. คาดเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นไตรมาส 2

อยุธยาอลิอันซ์ ซี.พี. คาดเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นไตรมาส 2

กรุงเทพฯ 26 พ.ค. -นายไมเคิล ไฮส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของกลุ่มอลิอันซ์ บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อลิอันซ์ประเมินว่าไตรมาสที่ 2 ปีนี้เป็นต้นไป เศรษฐกิจของไทยและของเอเชียน่าจะเริ่มฟื้นตัวไปพร้อม ๆ กัน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากมีสัญญาณที่ดีจากความเชื่อมั่นที่เริ่มกลับมาแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าตัวเลขการเติบโตของภูมิภาคเอเชียในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.7 แต่เชื่อว่าเอเชียไม่น่าจะต้องตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเซื่องซึมไปยาวนานนัก เพราะภูมิภาคนี้มีระบบธนาคารที่แข็งแกร่ง มีทุนสำรองเงินตราจำนวนมาก มีหนี้ต่างประเทศต่ำ เมื่อการค้าของโลกทรงตัวได้ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้นทั่วภูมิภาค และปี 53 จะเติบโตเป็นร้อยละ 5.6 หรือ 2 เท่าของปีนี้

สำหรับประเทศไทยประเมินว่า ปีนี้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะติดลบร้อยละ 3.5 เนื่องจากไทยพึ่งพาการส่งออกถึงร้อยละ 75 ของจีดีพี อีกทั้งยังมีเหตุผลที่เกี่ยวกับการเมืองภายในประเทศที่นำมาสู่ความตกต่ำทางเศรษฐกิจ และหากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ในปี 53 จีดีพีจะเติบโตได้ร้อยละ 3 แต่ยังมีความเสี่ยงอยู่มาก หากไม่นับปัจจัยทางการเมือง คือ ราคาสินค้าที่สูง หากยังสูงตลอดจะทำให้ปัญหาเงินเฟ้อกลับมา ผู้บริโภคไม่จับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจก็ฟื้นตัวช้า และหากมีปัญหาสถาบันการเงินล้ม อาจมีผลทางจิตวิทยากระทบต่อกำลังใจในช่วงที่ฟื้นฟูเศรษฐกิจอยู่ อาจทำให้ทุกอย่างเกิดการชะงักได้ ดังนั้นรัฐบาลต้องเดินหน้านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ส่วนการลงทุน นักลงทุนควรกระจายการลงทุนไปสู่รูปแบบในสกุลเงินอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่อง จากเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงเรื่อย ๆ จากการขาดดุลที่สูง ส่วนเงินบาท แม้ว่าจะมีการแทรกแซงให้อ่อนค่าลงบ้าง เพื่อช่วยการส่งออก แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งและมีเสถียรภาพ ไม่ได้หวือหวา นับว่ามีการบริหารจัดการได้ดี. -สำนักข่าวไทย

อ่านต่อที่ : อยุธยาอลิอันซ์ ซี.พี. คาดเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นไตรมาส 2

อัดรัฐบาลแก้เศรษฐกิจล้มเหลว พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in เศรษฐกิจ.
Tags: ,
add a comment

อัดรัฐบาลแก้เศรษฐกิจล้มเหลว

นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธาน เครือสหพัฒน์ ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของประเทศ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นในช่วงปลายปีนี้และจะดิ่งลงสู่ก้นเหว เนื่องจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกติดลบสูงถึง 7.1% ประกอบกับแนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาไม่ถูกจุด ทำให้เอกชนต้องพึ่งพาตัวเอง โดยแนวทางที่ต้องการเสนอไปยังรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คือ ดูแลค่าเงินบาทให้เคลื่อนไหวอยู่ที่ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้เอกชนไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ ซึ่งหากดูแลให้เงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนลงมาได้ จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยกลับมาฟื้นตัวได้ภายใน 6 เดือนข้างหน้า เพราะสัดส่วนอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของประเทศมาจากการส่งออกถึง 70%
 
ทั้งนี้ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การส่งออกของไทยเกิดความเสียหายมากจากค่าเงินที่แข็งค่าขึ้น จนไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้ และยังกระทบให้ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนมีมากขึ้น เห็นได้จากคนจนในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น ส่วนสถานการณ์ท่องเที่ยวไทยที่กำลังซบเซาลงอย่างหนักนั้น ปัญหาใหญ่ก็มาจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาถึงระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐจากที่เคยอยู่ที่ 42 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้นักท่องเที่ยวไม่เข้ามาในประเทศไทย นอกจากนี้ ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะกู้เงินจากต่างประเทศวงเงิน 400,000 ล้านบาท เนื่องจากจะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ประกอบกับในประเทศยังมีสภาพคล่องใน ระบบสูงอยู่สามารถที่จะกู้เงินในประเทศได้ และกู้เงินจากต่างประเทศจะยิ่งทำให้ประเทศยิ่งจนลง
 
“ถ้าเราไม่อยู่ในวงการค้าขายเราไม่รู้หรอก เอกชนค้าขายขาดทุนไปเท่าไร ตอนนี้เอกชนคงทำได้แต่ตัวใครตัวมันเท่านั้น ดังนั้นผลงานรัฐบาลในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาเท่ากับขาดทุน รัฐบาลถังแตก”
 
นายบุณยสิทธิ์ กล่าวต่อว่า บริษัทได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองมาก ทำให้ลูกค้าต่างชาติไม่เข้ามาร่วมลงทุนกับบริษัทใหม่แต่อย่างใด เห็นได้จากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการเซ็นสัญญาโครงการลงทุนใหม่ ๆ และสถานการณ์ค่อนข้างน่าเป็นห่วงมากกว่าวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 รวมทั้งในปีนี้ต้องชะลอการลงทุนใหม่ จึงคาดว่า ในสิ้นปีนี้เครือสหพัฒน์จะมียอดขายติดลบ 5% รวมทั้งมีผลกำไรที่ลดลงมากจากปีก่อน ที่มียอดขายทั้งเครือกว่า 100,000 ล้านบาท และในกรณีที่เลวร้ายสุดอาจมียอดขายติดลบ 10%
 
นายไมเคิล ไฮส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของกลุ่มอลิอันซ์ บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. กล่าวว่า อลิอันซ์ประเมินว่า ไตรมาสที่    2 ของปีนี้เป็นต้นไป เศรษฐกิจของไทยและของเอเชียน่าจะเริ่มฟื้นตัวไปพร้อม ๆ กัน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก เนื่องจากมีสัญญาณที่ดีจากความเชื่อมั่นที่เริ่มกลับมาแล้ว โดยคาดว่าตัวเลขการเติบโตของภูมิภาคเอเชียในระดับต่ำที่ 2.7% และเอเชียไม่น่าจะต้องตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนานนัก เพราะมีระบบธนาคารที่แข็งแกร่ง ทุนสำรองเงินตรามาก มีหนี้ต่างประเทศต่ำ และปี 53 จะเติบโตเป็น 5.6% หรือสองเท่าของปีนี้
 
ส่วนของประเทศไทย ปีนี้ จีดีพีจะติดลบที่ 3.5% เพราะไทยพึ่งพาการส่งออกอย่างมากถึง 75% ของจีดีพี อีกทั้งยังมีเหตุผลที่เกี่ยวกับการเมืองภายในประเทศ ที่นำมาสู่ความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้หากเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป ในปี 53 จะเติบโตได้ 3% โดยนอกจากปัจจัยทางการเมือง ปัญหาราคาสินค้าสูง อาจทำให้ปัญหาเงินเฟ้อกลับมา และผู้บริโภคไม่มีกำลังจับจ่ายใช้สอย จนเศรษฐกิจก็ฟื้นตัวช้า และหากสถาบันการเงินล้มขึ้นมา จะมีผลทางจิตวิทยาทำให้ทุกอย่างชะงักได้.

อ่านต่อที่ : อัดรัฐบาลแก้เศรษฐกิจล้มเหลว

ความจริง ความฝัน พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in อื่นๆ.
Tags: ,
add a comment

ความจริง ความฝัน

ความจริงวันนี้ สภาพัฒน์ แถลงตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 1/2552 เมื่อวานนี้ (25 พ.ค.) ตัวเลขที่ออกมาเป็นไปตามที่หลายๆ ฝ่ายคาดการณ์

   แม้ว่าจะติดลบ 7.1% แต่ก็ไม่เซอร์ไพรส์เท่าใด ราวกับว่าทุกคนรับข่าวไปแล้ว

 สภาพัฒน์บอกว่า เศรษฐกิจโลกหดตัวรุนแรงมากกว่าที่คาดการณ์ กระทบต่อส่งออก และการท่องเที่ยวไทยหดตัวอย่างแรง การหดตัวอย่างรุนแรงทางเศรษฐกิจไตรมาสแรกปีนี้ ทำให้การบริโภคของครัวเรือนติดลบ 2.6% ครั้งแรกในรอบ 12 ปี ขณะที่การลงทุนเอกชนหดตัว 17.7%

 คำถาม? เศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุดแล้วหรือยังต่างหากที่ทุกคนอยากรู้ และต้องการหาคนมาไขปริศนา

 กรณีที่ถ้าต่ำสุดแล้ว คำถามที่คนอยากรู้ต่อไป คือ แล้วเศรษฐกิจจะฟื้นเมื่อใด และจะฟื้นในลักษณะไหน ซึ่งผลที่ออกมาก็จะมีความแตกต่างกันไป ถ้าฟื้นเป็นรูปตัว V ก็เร็วหน่อย แน่นอนว่า ทุกคนอยากให้เป็นแบบนี้ แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ขอให้ฟื้นในรูปตัว U ก็ได้ ถึงจะช้าหน่อย แต่ก็ยังดีกว่าที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวเป็นตัว L ลากยาวไปเรื่อยๆ จนหาจุดผงกหัวไม่เจอ

 คำถามมากมายเหล่านี้ ไม่มีใครตอบได้จริง ทำได้เพียงการคาดคะเนกันต่างๆ กันไป อาทิเช่น ความเห็นของคลังบอกว่า ต่ำสุดแล้วในไตรมาส 1 และจะผงกหัวในไตรมาส 2 ต่อเนื่องไตรมาส 3 และกลับมาเป็นบวกไตรมาส 4 ก่อนจะฟื้นเต็มที่ในไตรมาสแรกปี 2553 เพราะเชื่อว่ามาตรการต่างๆ ของภาครัฐ โดยเฉพาะการอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในก๊อกที่ 2 มูลค่า 1.4 ล้านล้านบาท ที่กำลังจะออกมา จะเป็นหัวเชื้อชั้นดี ที่จะไปช่วยกระตุ้นภาคเอกชนให้มีการลงทุน หากทุกอย่างเป็นไปตามคาด เชื่อว่าไตรมาสแรกปีหน้า ก็จะเห็นสัญญาณชัดขึ้น

  ความเห็นของภาคเอกชน ส่วนใหญ่ก็มองจีดีพีของประเทศในไตรมาสแรกจะติดลบระหว่าง 5-8% ลดหลั่นกันไป ธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่าไตรมาส 2 ยังน่าเป็นห่วง โดยเฉพาะปัจจัยด้านการส่งออกและท่องเที่ยว ที่เป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยังหวังพึ่งไม่ได้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะยั่งยืนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยเศรษฐกิจสหรัฐ และเศรษฐกิจโลกด้วย ขณะที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เชื่อว่าจีดีพีจะค่อยๆ ดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 2 เป็นต้นไป

 สภาพัฒน์ยังเชื่อด้วยว่า เศรษฐกิจไตรมาส 2 จะปรับตัวดีขึ้นมาจาก 3 ปัจจัยสำคัญ คือ การเมืองนิ่ง เศรษฐกิจโลกต้องไม่ซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย และสุดท้าย ราคาน้ำมันในตลาดโลกต้องไม่เกิน 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 ดูเหมือนว่าสิ่งที่สภาพัฒน์บอกนั้นจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ยังมีความสุ่มเสี่ยงสูงว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ พูดกันตรงๆ คือ พูดได้แต่ปฏิบัติยาก ไม่ต่างอะไรกับความฝัน ที่บอกให้ผู้รับสารมีความหวัง

 เพราะการเมืองในขณะนี้ที่ดูเหมือนคลื่นลมจะสงบแล้ว แต่ในความจริงคลื่นใต้น้ำยังมีความเคลื่อนไหว เป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่ ที่ยังไม่รู้ว่าจะระเบิดเมื่อใดและจะรุนแรงแค่ไหน

 ส่วนประเด็นเศรษฐกิจของสหรัฐและเศรษฐกิจโลกนั้น ในวันนี้ยังมีความผันผวนอยู่ ยังเป็นคำถามถึงการฟื้นตัวหรือไม่อย่างไร และสุดท้าย ในเรื่องของราคาน้ำมันนั้นก็เป็นปัจจัยที่เราจะไปกำหนดกะเกณฑ์อะไรไม่ได้

 ความจริงวันนี้ที่ทางการบอก คือ เศรษฐกิจต่ำสุดแล้ว และจะทยอยฟื้นตัว แต่จากการตีความจากสารที่ออกมานั้น ในความเห็นส่วนตัว ผมเชื่อว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ยังเป็นความฝันที่ยังจับต้องไม่ได้ และผมจะเลือกปฏิบัติตัวโดยอยู่กับความเป็นจริง จนกว่าจะแน่ใจ ส่วนท่านก็เลือกกันเอาเอง ควรจะทำตัวอย่างไร ระหว่างอยู่ในโลกของความเป็นจริง หรือจะหลงระเริงในมายาภาพแห่งความฝันต่อไป

อ่านต่อที่ : ความจริง ความฝัน

ศก.ไม่ฟื้นทำ”สายการบิน”เอเชียทรุด พฤษภาคม 17, 2009

Posted by 1000thainews in ต่างประเทศ.
Tags: , , , ,
add a comment

ศก.ไม่ฟื้นทำ”สายการบิน”เอเชียทรุด
        เอเอฟพี – นักวิเคราะห์ ชี้ สายการบินชั้นนำในเอเชียกำลังต้องปรับตัว เพื่อฝ่าวิกฤตที่ทำท่ารุนแรงยิ่งขึ้น หลังจากผลประกอบการในไตรมาสแรกทรุดดิ่งอย่างไร้วี่แววว่าจะฟื้นตัวได้เมื่อไร หนำซ้ำยังถูกกระทบจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และถูกสายการบินต้นทุนต่ำมาชิงตลาดเพิ่มด้วยการเปิดเส้นทางบินไกลมากขึ้น
       
        สิงคโปร์แอร์ไลน์ (เอสไอเอ) เป็นสายการบินของเอเชียรายล่าสุดที่เพิ่งประกาศผลประกอบการ โดยระบุว่าผลกำไรสุทธิในไตรมาสซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้น ดิ่งลงถึง 92 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 41.9 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (28.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
       
        โดยในระหว่างไตรมาสดังกล่าว รายรับลดลงต่อปีราว 19.1 เปอร์เซ็นต์ โดยอยู่ที่ 3,320 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่ในปีการเงินที่เพิ่งสิ้นสุด (เม.ย.2008-มี.ค.2009) ผลกำไรสุทธิตกลง 48.20 เปอร์เซ็นต์ มาอยู่ที่ 1,060 ล้านดอลลาร์
       
        ชิวชุนเส็ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเอสไอเอ กล่าวว่า ภาวะทรุดดิ่งของธุรกิจสายการบินดูเหมือนจะกำลังคงที่แล้ว แต่ยังไม่มีร่องรอยบ่งชี้ว่าสถานการณ์กำลังเริ่มกระเตื้อง ดังนั้น เวลานี้จึงเป็นช่วงของอาการทรงๆ และการฟื้นตัวอย่างแท้จริง “ยังคงมองไม่เห็นในขณะนี้”
       
        เอสไอเอนั้น มีรายได้ราว 40 เปอร์เซ็นต์ จากผู้เดินทางในชั้นพิเศษ นั่นคือ ชั้นธุรกิจ และเฟิร์สต์-คลาส แต่ธุรกิจส่วนนี้ได้รับผลกระทบอย่างมากจากการที่ภาคธุรกิจต่างกำลังลดการเดินทางลง ซึ่งเป็นสถานการณ์เดียวกับที่สายการบินคาเธย์ แปซิฟิกของฮ่องกง และแควนตัสของออสเตรเลียกำลังเผชิญอยู่
       
        นักวิเคราะห์บอกว่า ที่ผ่านมา สายการบินทั้งสามได้ประกาศมาตรการเพื่อประหยัดต้นทุนไปแล้ว เช่น การให้พนักงานหยุดงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง และลดพนักงานลง
       
        “ผมยังมองไม่เห็นเลยว่าจะมีอะไรมาช่วยธุรกิจการบินได้ … พวกเขาก็ทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อลดค่าใช้จ่ายแล้ว” จิม เอคเคส กรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทที่ปรึกษาอินโดสวิส เอวิเอชัน ในฮ่องกง บอกและเสริมว่า “สิ่งที่ธุรกิจนี้ต้องการก็คือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งจนบัดนี้เราก็ยังไม่เห็นเลย”
       
        เอคเคส ระบุว่า การเดินทางในชั้นพิเศษนั้นลดลงราว 30-40 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า “ทุกวันนี้ไม่มีใครเลือกใช้เที่ยวบินเฟิร์สต์คลาสหรือชั้นนักธุรกิจอีกแล้ว … ธุรกิจที่ทำกำไรสูงนี้อันตรธานไปเลย”
       
        นอกจากนั้น เอคเคส ยังชี้ว่า การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งล่าสุดมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 8,000 คน และมีผู้เสียชีวิตไป 72 คนแล้วน้น มีส่วนทำให้ธุรกิจการบินทรุดลงไปอีกด้วย
       
        “มันยากที่จะบอกว่าไวรัสนี้ส่งผลต่อธุรกิจการเดินทางอย่างไร แต่ที่แน่ๆ ก็คือ มันไม่ช่วยอะไรสายการบินเลยในขณะที่ธุรกิจกำลังตกต่ำ และตอนนี้ธุรกิจสายการบินก็ตกต่ำจริงๆ เสียด้วย”
       
        ดีเรค ซาดุบิน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการของศูนย์การบินเอเชียแปซิฟิก (ซีเอพีเอ) ในซิดนีย์ ก็บอกว่าสายการบินชั้นนำที่ให้บริการเต็มรูปแบบกำลังเผชิญกับแรงกดดันเพิ่มขึ้นจากพวกสายการบินต้นทุนต่ำด้วย
       
        “เราถูกบีบจากทั้งสองด้าน” ซาดุบิน กล่าว “ความหวังเดียวที่มี ก็คือว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นบางส่วนแล้วกระตุ้นให้เศรษฐกิจโลกกลับเข้าที่เข้าทาง”
       
        ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายน คาเธ่ย์ แปซิฟิค รายงานผลประกอบการว่ารายรับประจำไตรมาสซึ่งสิ้นสุดเมื่อเดือนมีนาคมตกลง 22 เปอร์เซ็นต์ โดยก่อนหน้านี้ไม่กี่สัปดาห์ สายการบินแห่งนี้ก็เพิ่งประกาศขาดทุนหลายพันล้านดอลลาร์ในปี 2008 ซึ่งนับเป็นการประสบขาดทุนตลอดทั้งปีเป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ
       
        ส่วน แควนตัส นั้น เมื่อเดือนที่แล้วก็ประกาศแผนการปลดพนักงานเพิ่มเติมเพื่อแก้ปัญหาธุรกิจตกต่ำ และยังคาดว่า จะมีผลกำไรในปีการเงินที่สิ้นสุดในเดือนมิถุนายน ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ถึงกว่าครึ่งหนึ่ง และสายการบินยังได้ชะลอการสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ไว้ด้วย
       
        อนึ่ง สายการบินเอเชียที่ใหญ่ที่สุดอย่าง แจแปน แอร์ไลน์ ก็รายงานผลประกอบการในเดือนพฤษภาคมว่ามียอดขาดทุนสุทธิ 63,200 ล้านเยน (664.30 ล้านดอลลาร์) ในช่วง 12 เดือนนับถึงมีนาคมที่ผ่านมา โดยในปีก่อนหน้านี้มีผลกำไร 16,900 ล้านเยน และจะลดพนักงาน 1,200 คน

อ่านต่อที่ : ศก.ไม่ฟื้นทำ”สายการบิน”เอเชียทรุด

ดัชนีผู้บริโภคดิ่งตํ่าสุด87เดือน พฤษภาคม 15, 2009

Posted by 1000thainews in ทั่วไป.
Tags: , , , , , , , , , , , , , ,
add a comment

ดัชนีผู้บริโภคดิ่งตํ่าสุด87เดือน

การเมืองวุ่น-น้ำมันแพงผู้บริโภคฝ่อ ชี้บ้าน-รถยนต์สาหัสสุดรอบ50เดือน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจประชาชนทั่วประเทศ 2,242 ตัวอย่าง เกี่ยวกับความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยประจำเดือน เม.ย. 52 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และส่วนใหญ่ลดลงต่ำสุดในรอบ 7 ปี โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค. เท่ากับ 72.1 ต่ำสุดในรอบ 87 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปัจจุบัน 61.8 ต่ำสุดในรอบ 82 เดือน นับจากเดือน มิ.ย. 45 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต 74.1 ต่ำสุดรอบ 20 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ลดเหลือ 65.1 ต่ำสุดในรอบ 88 เดือน ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานทำเหลือ 64.5 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเหลือ 86.7  
 
สาเหตุที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงทุกรายการ มาจากความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในอนาคต หลังจากมีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่พัทยา และกรุงเทพฯ ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบทางจิตวิทยา ต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นักลงทุน และนักท่องเที่ยว ประกอบกับผู้บริโภคกังวลปัญหา ค่าครองชีพสินค้าราคาแพง และราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึง  ภาวะการค้าต่างประเทศ การส่งออกที่หดตัวถึง 22.7%
 
ส่วนปัจจัยบวกมาจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท ซึ่งช่วยกระตุ้นจิตวิทยาในการบริโภค รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่า และการประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยลง 0.25% แต่ที่สำคัญสุดคือการที่รัฐบาลใช้กระบวนทางสภา คลี่คลายปัญหาการเมืองได้รวดเร็วช่วยคลายความกังวลแก่ผู้บริโภคได้มาก
 
ดัชนีผู้บริโภคเดือนนี้ยังอยู่ในช่วงขาลง แต่ข่าวดีก็คือดัชนีผู้บริโภคติดลบน้อยกว่าที่คาด เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองคลี่คลายอย่างรวดเร็ว ผ่านกระบวนการสภาและปราศจากการใช้ความรุนแรงที่เกินกว่าเหตุ ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตติดลบน้อยกว่าปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าประชาชนคาดหวัง มาตร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐจะใช้ได้ผลในไม่ช้า แต่ต้องอยู่ภายใต้สถานการณ์การเมืองที่ปกติ และไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวายอีก”
 
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ทิศทางความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังอยู่ช่วงขาลงต่อไปถึงไตรมาสสาม และจะเริ่มฟื้นไตรมาสสี่ ตามภาวะเศรษฐกิจโลก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ออกมา แต่ตอนนี้ธุรกิจสินค้าคงทนจะต้องเผชิญปัญหายอดขายชะลอตัวอย่างมาก เพราะผลสำรวจดัชนีการซื้อบ้านต่ำสุดในรอบ 50 เดือน รวมถึงรถยนต์ก็ลดต่ำสุดในรอบ 30 เดือน เนื่องจากประชาชนยังขาดกำลังการใช้จ่าย
 
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การเมืองยังเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เพราะดัชนีการเมืองเดือน เม.ย. ปรับลดลงมากถึง 2.5 จุด โดยสิ่งที่ต้องจับตาต่อไป คือการยุบสภาหากมีการยุบหลังปฏิรูปการเมือง และผ่านงบประมาณปี 53 รวมถึง พ.ร.ก.กู้เงิน 400,000 ล้านบาท เสร็จสิ้นก่อน คงไม่กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เพราะข้าราชการประจำสามารถใช้เงินตามระบบได้ แต่หากมีการยุบสภาที่เกิดจาก ความขัดแย้งของพรรคร่วมรัฐบาล และเกิดขึ้นก่อนพิจารณางบปี 53 กับ พ.ร.ก.กู้เงินเสร็จ จะกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจในประเทศ ให้ลบเกิน 5% แต่โอกาสเกิดยังมีน้อย โดยหอการค้ามองว่าการเมืองน่าจะคลี่คลายในไตรมาสสาม และจีดีพีน่าจะติดลบ 4.3% เท่านั้น
 
สำหรับสิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ นอกจากการเร่งสร้างเสถียรภาพทางการเมืองแล้ว สิ่งสำคัญ คือการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐให้ได้ตามแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจคท์) จะต้องเริ่มภายในไตรมาสสี่ รวมถึงเร่งรัดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต้องจ่ายเงินลงทุนลงท้องถิ่นให้เร็วที่สุด และเร่งกระตุ้นโครงการลงทุนของหน่วยรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ด้วย.

อ่านต่อที่ : ดัชนีผู้บริโภคดิ่งตํ่าสุด87เดือน

จัดกระบวนทัพรับขั้วอำนาจใหม่ พฤษภาคม 15, 2009

Posted by 1000thainews in เศรษฐกิจ.
Tags: , , , , , , , , , , , , , ,
add a comment

จัดกระบวนทัพรับขั้วอำนาจใหม่

และหากเศรษฐกิจสหรัฐแก้ไม่ได้ ประเทศไทยก็ลำบาก เพราะมีปัญหาการเมืองซ้อนเข้ามา และรัฐบาลก็ไม่มีงบประมาณจะมาใช้จ่ายให้เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

“มากไปกว่านั้นไทยยังมีปัญหาการเมืองซึ่งมีตัวแปรมาก ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการเมืองที่ไม่รู้จะจบเมื่อไร แถมมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ความขัดแย้งทางสังคมที่มีรอยร้าวลึก และความขัดแย้งทางอุดมการณ์ด้วย” นายลิขิต กล่าว

ดังนั้น ทางออกที่ควรเป็น คือ การแปรรูปเศรษฐกิจใหม่ให้เกาะไปกับ มหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกใหม่ อย่าง จีน อินเดีย รัสเชีย และญี่ปุ่น ที่จะผงาดมาแข่งกับสหรัฐได้อย่างไร

ขณะเดียวกันก็ต้องปรับตัวสอดรับการจัดระเบียบโลกใหม่ด้วย ต่อไปอาจจะไม่วัดมูลค่าจากเงินเหรียญสหรัฐเพียงอย่างเดียว เพราะจีนเริ่มปรับตัวให้เงินหยวนมีส่วนในอัตราแลกเปลี่ยนบ้างแล้ว

“ประเด็นคือว่า ถ้ากลุ่มประเทศเหล่านี้ขึ้นเป็นมหาอำนาจใหม่ไทยจะปรับตัวอย่างไร” นายลิขิต กล่าว

อ่านต่อที่ : จัดกระบวนทัพรับขั้วอำนาจใหม่