jump to navigation

คนในอยากออก-คนนอกอยากเข้า (3) พฤษภาคม 27, 2009

Posted by 1000thainews in อื่นๆ.
Tags: ,
add a comment

คนในอยากออก-คนนอกอยากเข้า (3)

ใครที่สนอกสนใจเรื่องการเงินการคลังของภาครัฐเป็นพิเศษ ผมขอแจ้งกำหนดการที่ต้องติดตามข่าวสำคัญให้ทราบอย่างน้อย 2 เรื่องด้วยกัน

หนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่า พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ในวันพุธที่ 3 มิถุนายนที่จะถึงนี้

ผมประเมินในเบื้องต้นว่าไม่น่าขัด สามารถดำเนินการไปตามอำนาจที่มีได้โดยไม่ติดขัดครับ

สอง สภาผู้แทนราษฎรจะเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญช่วงระหว่างวันที่ 15-23 มิถุนายนนี้ เพื่อพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2553 ในวาระแรกเพื่อรับหลักการ ก่อนจะดำเนินการไปจนมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายให้ทันปีงบประมาณ 2553 ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคม 2552

ผมประเมินในเบื้องต้นว่าไม่น่ามีปัญหา

แต่คงอภิปรายกันหูดับตับไหม้ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลตามธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยมีมา

พระราชกำหนดและพระราชบัญญัติสองฉบับนี้เกี่ยวเนื่องกัน และเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายการคลังในยามที่เศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างเป็นทางการ

เรื่องที่ควรทราบในชั้นนี้ก็มีเพียงเท่านี้ ที่เหลือก็ต้องติดตามกันต่อไป ถ้าหากมีประเด็นสำคัญต้องคุยเพิ่มเติมค่อยมาว่ากันอีกทีเมื่อถึงเวลาอันเหมาะควร

แต่ตอนนี้ไปคุยเรื่องที่ยังค้างไว้ให้จบซะก่อน

ผมเรียนไปแล้วว่าธนาคารและสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกา ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องและฐานะเงินกองทุนเสื่อมทรุด เพราะปล่อยสินเชื่อแล้วมีปัญหาจนต้องแห่มาใช้บริการกู้เงินรัฐบาลไปเสริมสภาพคล่องร่วม 600 แห่ง ใช้เงินเบ็ดเสร็จเกือบ 200,000 ล้านดอลลาร์นั้น มีทั้งพวกที่ไม่อยากเข้าร่วมโครงการแต่จำใจ พวกนี้กำลังรีบหาทางออกจากโครงการเป็นการด่วน กับอีกพวกที่จำใจต้องเข้าร่วมโครงการเพราะไม่มีทางเลือกอื่น รวมถึงพวกที่อยากเข้าเพื่อความอยู่รอดปลอดภัยด้วย

ผมอยากเรียกว่ากลุ่มหลังนี้ ว่า คนนอกอยากเข้า หรือจะเรียกว่าจำใจต้องเข้าก็ได้ครับ

จำได้มั้ยครับว่าในระหว่างที่ธนาคารแห่งอเมริกา ธนาคารเวลส์ฟาร์โก และธนาคารมอร์แกน สแตนเลย์ กำลังดิ้นรนออกจากโครงการทุกวิถีทางอยู่นั้น

ในช่วงเวลาเดียวกัน มีธนาคารและสถาบันการเงินอีกไม่น้อยกว่า 14 แห่ง ต้องขอรับเงินช่วยเหลือสิริรวมไม่น้อยกว่า 107.6 ล้านดอลลาร์

คนนอกที่อยากเข้าล่าสุดนี้เป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก มีขอบข่ายให้บริการภายในรัฐใดรัฐหนึ่งเป็นสำคัญ

ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารเมอร์แคนไทล์ แบงก์ คอร์ป จากเมืองแกรน แรบพิดส์ รัฐมิชิแกนรายนี้รับเงินช่วยเหลือไป 21 ล้านดอลลาร์ หรือธนาคารมาร์เก็ต สตรีท แบงก์แชร์ อิงค์ เมืองเมานท์เวอร์นอน รัฐอิลลินอยส์ รายนี้ขอรับเงินช่วยเหลือไป 20.3 ล้านดอลลาร์ ฯลฯ

ผมคิดว่าแม้สถานการณ์โดยรวมของวิกฤติเศรษฐกิจการเงินในสหรัฐในเวลานี้ จะผ่อนคลายลงไปมาก แต่ตราบใดที่ยังมีธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินจำนวนหนึ่งอยู่ไม่ได้ต้องปิดกิจการหรือควบรวมกับคนอื่น หรือยังมีสถาบันการเงินขอเข้าร่วมโครงการรับเงินช่วยเหลืออยู่อีก

ต้องถือว่าระบบสถาบันการเงินที่เป็นเลือดหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่เป็นปกติ และจะทำให้การฟื้นฟูวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้ต้องทอดเวลาออกไปเนิ่นนานขึ้น

แต่นี้ก็ต้องบอกว่าถือว่าเป็นภาคแรกเท่านั้น เพราะหลังจากเข้าร่วมโครงการรับเงินช่วยเหลือไป ในอนาคตก็จะต้องฟื้นฟูกิจการให้กลับมาทำงานได้ตามปกติ และถึงเวลานั้น ก็ต้องตัดสินใจว่าทางรัฐบาลจะขายหุ้นที่ถือไว้ให้เอกชนที่สนใจเอาไปบริหารจัดการเอง

อันที่จริงตราบใดที่ยังไม่มีกระบวนการเอา หนี้เน่า ออกจากระบบสถาบันการเงินอย่างจริงจัง ตราบนั้นก็ยังพูดไม่ได้เต็มปากว่าวิกฤติระบบสถาบันการเงินจบสิ้นแล้ว

เรื่องก็มีเท่านี้แหละครับ

 

อ่านต่อที่ : คนในอยากออก-คนนอกอยากเข้า (3)

รัฐบาลเตรียมเข็น พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านเสนอสภาฯ พรุ่งนี้ พฤษภาคม 17, 2009

Posted by 1000thainews in เศรษฐกิจ.
Tags: , , , ,
add a comment

รัฐบาลเตรียมเข็น พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านเสนอสภาฯ พรุ่งนี้

รัฐบาลเตรียมเข็น พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านเสนอสภาฯ พรุ่งนี้

ประจวบคีรีขันธ์ 17 พ.ค.-นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวระหว่างการสัมมนาทางวิชาการ ว่าหลังจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ออก พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท และออกเป็น พ.ร.บ.กู้เงินอีก 4 แสนล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นเร่งด่วนในการใช้เงินจึงได้ออกเป็น พ.ร.ก.กู้เงินในก้อนแรก เพื่อเสนอให้สภาฯ รับทราบวัตถุประสงค์การใช้เงินให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมายในวันพรุ่งนี้ (18 พ.ค.) เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจถดถอยทำให้รายได้ภาษีของรัฐบาลจัดเก็บได้ในปี 52 ต่ำกว่าเป้าหมายถึง 2.8 แสนล้านบาท ดังนั้นการกู้เงิน 4 แสนล้านบาทก้อนแรก แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.วงเงิน 2 แสนล้านบาทแรกจะเป็นการกู้เงินสมทบเงินงบประมาณปี 52 เพื่อนำเงินเข้าสู่เงินคงคลังชดเชยรายได้ที่หายไปให้มีเพียงพอต่อการใช้จ่ายส่วนต่าง ๆ ของรัฐบาล 2. เป็นส่วนที่เหลืออีก 2 แสนล้านบาท จะนำไปใช้ในการลงทุนโครงการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 52 

แม้ว่าการกู้เงินตาม พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ กำหนดให้การกู้ในแต่ละปีต้องเป็นเงินไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินงบประมาณ บวกกับการกู้อีกร้อยละ 80 ของวงเงินต้นในการชำระหนี้ แต่กฎหมายก็เปิดทางให้ว่า เมื่อในยามวิกฤติเศรษฐกิจมีปัญหาฉุกเฉิน รัฐบาลสามารถออก พ.ร.ก.กู้ในตลาดเพื่อนำมาใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆให้เพียงพอได้ ถึงแม้จะมีผู้ฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ คาดว่ารัฐบาลจะสามารถชี้แจงถึงความเป็นเร่งด่วนในการออก พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาทได้ เพราะการกู้เงินเพื่อมาใช้ในการแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจขณะนี้ไม่เหมือนกับการกู้เงินในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 ซึ่งเป็นการกู้มีเพื่อช่วยเหลือภาระให้กับสถาบันการเงินและล้างหนี้ส่วนต่าง ๆ แต่การกู้เงินในครั้งนี้เพื่อนำเงินไปลงทุนก่อสร้างผ่านโครงการต่างๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานอย่างน้อย 1.2 ล้านคน จากการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภค รถไฟฟ้า สาธารณะสุข การศึกษา การกู้เงินดังกล่าวจึงมีความจำเป็นในขณะนี้

นายจักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ กล่าวว่า แนวทางการกู้เงินที่ถูกต้อง คือ 1.ต้องเป็นการกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต้องให้ทันกับเหตุการณ์ในช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหาตกต่ำจริงๆ ดังนั้นจึงต้องออกเป็น พ.ร.ก.ในการกู้เงิน เพราะหากออกเป็น พ.ร.บ. ต้องใช้เวลาถึง 6 เดือน อาจสร้างผลร้ายต่อเศรษฐกิจทำให้กระทบต่ออัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น 2.มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต้องเป็น
าตรการระยะสั้น จึงได้กำหนดให้ การออก พ.ร.ก.และพ.ร.บ. ในการกู้เงินมีอายุเพียง 3 ปี จากนั้นคาดว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ 3.การกู้เงินมาใช้ต้องมีเป้าหมายชัดเจน เช่น การลงทุนผ่านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยเข้มแข็ง จะนำไปใช้ผ่านโครงการต่าง ๆ มีผลต่อการพัฒนาสาธารณูปโภค 4.การกู้เงินมาใช้ในโครงการต่างๆ สามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส เพราะกฎหมายกำหนดให้รายงานต่อสภาถึงวัตถุประสงค์ในการใช้เงิน ดังนั้นการใช้เงินผ่านโครงการต่างๆจึงตรวจสอบได้

“สถานการณ์ขณะนี้การกู้เงินต้องรีบทำ รีบใช้ เพราะรัฐบาลยังมีเครดิต ยังมีคนมั่นใจรัฐบาล และประเทศมีความเข้มแข็ง จึงเหมาะในการกู้เงินมาลงทุน แต่หากรอให้หมดตัว เงินคงคลังไม่เหลือ เศรษฐกิจย่ำแย่ มากู้เงินในช่วงนั้นคงไม่มีใครให้กู้ ดังนั้นจึงต้องเตรียมหาเงินในช่วงที่ยังไม่หมดตัว” นายจักรกฤศฎิ์ กล่าว
สำหรับการกู้เงินที่จะมีผลต่อภาระหนี้สาธารณะให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 61 ในปี 56 เป็นภาระที่ไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เพราะเป็นการกู้มาลงทุนผ่านโครงการต่าง ๆ ซึ่งใช้เป็นการสร้างทุนและก่อให้เกิดผลต่อแทนกลับมาในอนาคต ทำให้รัฐบาลมีรายได้กลับคืนมาและคาดว่าในช่วงปี 57-58 รัฐบาลจะสามารถกลับมาจัดทำรายได้งบประมาณประจำปีแบบสมดุลได้ ดังนั้นจึงไม่น่ากังวลเมื่อเทียบกับภาระหนี้สาธารณะก่อนปี 40 ซึ่งมีอยู่เพียง 6 แสนล้านบาท และขยับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 60.8 ของจีดีพีในช่วงการกู้เงินแก้ปัญหาสถาบันการเงินและได้ลดลงมาต่อเนื่องเมื่อเศรษฐกิจปรับดีขึ้น ลดลงเหลือร้อยละ 37 ของจีดีพีในปลายปี 51
และเมื่อสภาเห็นชอบแล้ว กระทรวงการคลังน่าจะเริ่มขั้นตอนการกู้เงินได้ภายในเดือนมิถุนายน 52 โดยส่วนหนึ่งจะกู้ด้วยการออกเป็นพันธบัตรออมทรัพย์ เพื่อจำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป และอีกส่วนหนึ่งจะออกตราสารกู้เงินจากสถาบันการเงิน ซึ่งมีสภาพคล่องอยู่เป็นจำนวนมาก ยอมรับว่าในช่วงที่มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลจะออกพันธบัตรกู้เงินจากตลาด ได้ทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้นมาในระดับหนึ่งในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับการกู้เงินระยะ 10 ปี มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 6-7 ส่วนการกู้เงินระยะสั้น หากเป็นการกู้ของรัฐวิสาหกิจอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2 ส่วนของรัฐบาลอยู่ที่ประมาณร้อยละ 1 จึงเป็นช่วงที่เหมาะสมในการกู้เงินในขณะนี้.-สำนักข่าวไทย

อ่านต่อที่ : รัฐบาลเตรียมเข็น พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านเสนอสภาฯ พรุ่งนี้

สบน.ยืนยัน การออก พ.ร.บ.กู้เงินอีก 4 แสนล้านบาท ไม่ผิดกฏหมาย พฤษภาคม 17, 2009

Posted by 1000thainews in การเมือง.
Tags: , , , ,
add a comment

สบน.ยืนยัน การออก พ.ร.บ.กู้เงินอีก 4 แสนล้านบาท ไม่ผิดกฏหมาย

สบน.ยืนยัน การออก พ.ร.บ.กู้เงินอีก 4 แสนล้านบาท ไม่ผิดกฏหมาย 17 พ.ค. – สบน.ยืนยัน การออก พ.ร.บ.กู้เงินอีก 4 แสนล้านบาท ไม่ผิดกฏหมาย และเตรียมนำ พ.ร.ก.กู้เงินเสนอสภาในวันพรุ่งนี้

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. กล่าวถึงการออก พ.ร.ก. และ พ.ร.บ.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท ว่า สามารถทำได้ เพราะแม้กฏหมายจะกำหนดให้กู้เงินในแต่ละปีไม่เกินร้อยละ 20 ของวงเงินงบประมาณ บวกกับการกู้อีกร้อยละ 20 ของเงินต้นในการชำระหนี้ แต่ก็เปิดทางไว้ให้สามารถกู้ได้ในยามวิกฤติเศรษฐกิจ มีปัญหาฉุกเฉิน ซึ่งการกู้ครั้งนี้จะแตกต่างจากเมื่อช่วงวิกฤติการเงินปี 2540 ซึ่งครั้งนั้นกู้เพื่อช่วยสถาบันการเงินและล้างหนี้ส่วนต่างๆ แต่ครั้งนี้เพื่อนำเงินไปลงทุนก่อสร้างผ่านโครงการต่างๆ และลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และในวันพรุ่งนี้จะเสนอ พ.ร.ก.กู้เงินให้สภารับทราบถึงวัตถุประสงค์การใช้เงิน และหากสภาเห็นชอบ กระทรวงการคลังจะเริ่มขั้นตอนการกู้เงินได้ภายในเดือนมิถุนายนนี้. –สำนักข่าวไทย

อ่านต่อที่ : สบน.ยืนยัน การออก พ.ร.บ.กู้เงินอีก 4 แสนล้านบาท ไม่ผิดกฏหมาย

รัฐบาล “มาร์ค” ซื้อหนี้ NPL เกษตรกรแล้วกว่า 5 พันราย เกือบพันล้านบาท พฤษภาคม 17, 2009

Posted by 1000thainews in ภูมิภาค.
Tags: , , , ,
add a comment

รัฐบาล “มาร์ค” ซื้อหนี้ NPL เกษตรกรแล้วกว่า 5 พันราย เกือบพันล้านบาท
สุราษฎร์ธานี– “เลขาธิการกองทุนฟื้นฟูฯล่องใต้” ลงพื้นที่สุราษฎร์ธานี สร้างความเข้าใจเรื่องการช่วยเหลือเกษตรกรของรัฐบาล สกัดม็อบเกษตรกรพื้นที่ภาคใต้ไม่ให้เข้าร่วมประท้วงวันพรุ่งนี้ (18 พ.ค.) ที่สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ ยืนยันรัฐบาลพร้อมอุ้มหนี้สินให้กับเกษตรกรที่เป็นลูกหนี้ NPA แน่นอน ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
       

       วันนี้ (17 พ.ค.) รศ.ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตรกร และคณะ เดินทางลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกร อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อเร่งทำความเข้าใจชี้แจงให้กลุ่มเกษตรกร เข้าใจการช่วยเหลือฟื้นฟูหนี้สินที่เกษตรกรมีต่อสถาบันการเงินต่างๆ
       
       รวมทั้งปัญหาหนี้นอกระบบตามนโยบายของรัฐบาล ที่มี มติ ครม.ให้กองทุนฟื้นฟูฯซื้อหนี้ NPA ของเกษตรกรที่กำลังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ พร้อมระบุว่า อย่าไปหลงเชื่อเครือข่ายชาวนาที่ดินแห่งประเทศไทย กับกลุ่มคนเสื้อแดง ที่พยายามชักชวนเกษตรกร ให้เดินทางเข้าร่วมชุมนุมประท้วงกับที่กรุงเทพฯ ในวันพรุ่งนี้ (18 พ.ค.) ซึ่งทางกองทุนฟื้นฟูฯกำลังเร่งตรวจสอบหลักฐานพร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
       
       พร้อมระบุว่า เกษตรกรไม่ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ซึ่งทางสาขากองทุนฟื้นฟูฯ และพัฒนาการเกษตรกรแต่ละจังหวัดสามารถดำเนินการได้ โดยเกษตรกรที่เป็นหนี้ ทางสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯจะจัดส่งหนังสือให้ถึงบ้านทุกราย
       
       ดังนั้น การเดินทางมาพบปะสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตรกร ในครั้งนี้ เพื่อไม่ต้องการให้เกษตรกรไปเป็นเครื่องมือของกลุ่มดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ทางกองทุนฟื้นฟูฯ ได้ให้การช่วยเหลือเกษตรกรไปแล้วกว่า 5 พันราย มูลค่าเงินเกือบ 1 พันล้านบาท
       
       ซึ่งเกษตรกรเป็นหนี้มากที่สุด คือ เกษตรกรในภาคกลาง รองลงมาเป็นภาคตะวันออก และภาคอีสาน ซึ่งสาเหตุที่ส่งผลให้เกษตรกรเป็นหนี้ เนื่องมาจากการปรับโครงการสร้างของสถาบันการเงินกับลูกหนี้เร็วเกินกว่าที่กำหนด และหนี้นอกระบบของเกษตรกรเอง.

อ่านต่อที่ : รัฐบาล “มาร์ค” ซื้อหนี้ NPL เกษตรกรแล้วกว่า 5 พันราย เกือบพันล้านบาท

มาร์คเดิมพัน จีดีพีพุ่ง5% พฤษภาคม 15, 2009

Posted by 1000thainews in อื่นๆ.
Tags: , , , , , , , , , , , , ,
add a comment

มาร์คเดิมพัน จีดีพีพุ่ง5%

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะทยอยกู้เงินโดยเร็วที่สุด หลังจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ขอกู้เงิน 4 แสนล้านบาท ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ส่วนหนึ่งจะกู้ไปชดเชยเงินคงคลังที่ลดลงเพราะเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้า เพื่อให้เงินคงคลังสิ้นปีงบประมาณอยู่เท่ากับต้นปีงบประมาณที่ไม่น้อยกว่า 2.18 แสนล้านบาท <img alt=”” hspace=3 src=”http://www.posttoday.com/medias/20090515/15620.jpg” align=right vspace=3 border=1>

นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงินงบประมาณจำนวน 1.43 ล้านล้านบาท แต่ในช่วง 3 ปี จะกู้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจก่อน 8 แสนล้านบาท เพื่อมาลงทุนในโครงการต่างๆ ให้เกิดการจ้างงาน หากเป็นไปตามแผนจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตขึ้นเป็นลำดับ แต่หากไม่เป็นไปตามแผน การชำระหนี้ก็จะยืดออกไปเท่านั้นเอง

ทั้งนี้ เศรษฐกิจจะติดลบในปี 2552 ประมาณ 3.5% แค่ปีเดียว และจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับเป็นขยายตัว 2.5% ในปี 2552 และขยายตัวได้ 5% ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นไป โดยในปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลจะสามารถกลับมาทำงบประมาณแบบสมดุลได้

การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในรอบนี้จะทำการสร้างกำลังซื้อในประเทศ สร้างงานสร้างรายได้ และรัฐบาลจะมีรายได้กลับคืนในรูปของภาษีต่างๆ ที่จะนำมาชำระคืนหนี้ที่กู้ยืมมา” ผู้อำนวยการสบน. กล่าว

สำหรับเงินกู้จำนวน 8 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระยะกลางนั้น กระทรวงการคลังจะออกพันธบัตรจำหน่ายแก่ประชาชน 3 หมื่นล้านบาท และที่เหลือจะทยอยกู้จากสถาบันการเงินในประเทศ ไม่ออกพันธบัตรขายสถาบันและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะเท่ากับทำให้ธปท. ต้องพิมพ์ธนบัตรออกมาเพิ่มปริมาณเงินและเป็นแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ

อย่างไรก็ดี เมื่อวานนี้ที่ประชุมรัฐสภามีมติเห็นชอบแผนการก่อ หนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2552 ด้วยคะแนน 285 ต่อ 49 เสียง งดออกเสียง 19 เสียง ไม่ลงคะแนน 17 เสียง โดยที่ประชุมส่วนใหญ่ตั้งข้อสังเกตว่า ไม่แน่ใจว่าแผนงานของรัฐบาลจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ตามเป้าหมาย และสงสัยว่างบประมาณส่วนใหญ่ลงไปในโครงการกระทรวงของพรรคภูมิใจไทย

นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า การลงทุนทั้ง 4 โครงการ เป็นโครงการต่อเนื่องมาจากรัฐบาลชุดก่อน การกู้เงินช่วงนี้เหมาะสมเพราะสภาพคล่องในระบบมีมาก แต่เอกชนกลับไม่มั่นใจลงทุน ดังนั้นภาครัฐจะต้องเป็นผู้ทำโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ และในวันที่ 18 พ.ค.นี้ จะนำเรื่องพ.ร.ก.กู้เงิน และพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กู้เงิน 8 แสนล้านบาท ภายใต้แผนไทย เข้มแข็ง 2555 วงเงิน 1.5 ล้าน ล้านบาท เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาด้วย

อ่านต่อที่ : มาร์คเดิมพัน จีดีพีพุ่ง5%

มะกันล้อมคอกตลาดอนุพันธ์ พฤษภาคม 15, 2009

Posted by 1000thainews in ต่างประเทศ.
Tags: , , , , , , , , , , , , , ,
add a comment

มะกันล้อมคอกตลาดอนุพันธ์

รัฐบาลสหรัฐเตรียมคุมเข้มการซื้อขายอนุพันธ์ทางการเงิน เพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นชนวนของวิกฤตทางการเงิน หลังจากที่ผ่านมา สถาบันการเงินหลายแห่งลงทุนกับอนุพันธ์โดยปราศจากความโปร่งใส ทั้งๆ ที่การลงทุนชนิดนี้มีความซับซ้อน จนในที่สุดก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างรุนแรง และนำไปสู่วิกฤตการเงินครั้งล่าสุด

กระทรวงการคลังสหรัฐเสนอให้เพิ่มระดับทุนสำหรับสถาบันการเงินที่ขายอนุพันธ์ และจำต้องรายงานราคาซื้อขายตามกำหนด รวมถึงกำหนดให้การซื้อขายอนุพันธ์หลายประเภทจะต้องผ่านหน่วยงานตรวจสอบของภาครัฐ เพื่อสามารถตรวจสอบที่มาที่ไปของการซื้อ ขายได้

ทั้งนี้ เม็ดเงินที่ไหลเวียนในตลาดซื้อขายอนุพันธ์สูงถึง 684 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 2.39 หมื่นล้านล้านบาท) ในแต่ละวัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาล โดยเฉพาะซีดีโอซึ่งเป็นอนุพันธ์ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เป็นที่นิยมของสถาบันการเงินชั้นนำ แต่ในที่สุดเป็นสาเหตุที่ให้เอไอจี และเลห์แมน บราเธอร์ส ต้องล้มลงเมื่อปีที่แล้ว

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) คาดการณ์ว่า วิกฤตในภาคธนาคารของสหรัฐอาจยืดเยื้อจนถึงปี 2556 เนื่องจากธนาคารไม่สามารถระดมทุนได้มากพอ โดยเอสแอนด์พีระบุว่า ธนาคารในสหรัฐจำเป็นจะต้องเพิ่มทุนให้ถึง 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 6.3 แสนล้านบาท) แต่ตัวเลขนี้อาจเพิ่มขึ้นอีก หากสถานการณ์เลวร้ายลง

ด้านสภาความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก (พีอีซีซี) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นผู้นำภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคสังคมในภูมิภาคพบว่า 72% และ 71% เห็นว่าภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐและญี่ปุ่นยังอยู่ในด้านลบ ขณะที่ 54% มองภาพรวมเศรษฐกิจจีนในด้านลบ นอกจากนี้ 46% เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกอ่อนแรงลง

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโลกของสำนักข่าวบลูมเบิร์ก กลับดีดขึ้นมาที่ 38.72 จุด สูงที่สุดในรอบ 19 เดือน หลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐระบุว่า มีสัญญาที่เศรษฐกิจใกล้ที่จะฟื้นตัว บวกกับผลการทดสอบสมรรถภาพของธนาคารสหรัฐที่น่าพอใจ

อ่านต่อที่ : มะกันล้อมคอกตลาดอนุพันธ์

LPNเร่งยอดโอนคอนโดฯ พฤษภาคม 15, 2009

Posted by 1000thainews in เศรษฐกิจ.
Tags: , , , , , , , , , , , , , ,
add a comment

LPNเร่งยอดโอนคอนโดฯ

LPNเร่งยอดโอนคอนโดฯ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
15 พฤษภาคม 2552 09:38 น.

       “แอล.พี.เอ็น.” ปรับแผนเร่งโอนคอนโดฯ ป้องกันแบงก์ปฎิเสธสินเชื่อ พร้อมเผยยอดขายปรับตัวดีขึ้น เฉลี่ยซื้อ 113 ยูนิต/สัปดาห์ ลุยซื้อที่ดิน 3 แปลงขึ้นคอนโดฯ 6,000 ยูนิต มูลค่ากว่า 6,550 ล้านบาท เชื่อทั้งปีทำได้ตามเป้า 8,000 ล้านบาท ส่วนไตรมาส 1 กวาดรายได้ 2,036 ล้านบาท กำไร 364 ล้านบาท โต 76% จากไตรมาส 1/51
       
       นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN เปิดเผยว่า จากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ส่งผลให้ยอดการปฏิเสธสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2551 ลูกค้าของบริษัทฯมียอดปฏิเสธสินเชื่อประมาณ 10% ในขณะที่ปีนี้ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 10.9% ซึ่งถือว่าไม่สูงมาก เนื่องจากในช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ด้วยการเร่งโอนบ้านให้เร็วขึ้นจาก 6 เดือนนับจากโครงการแล้วเสร็จ เหลือเพียง 3 เดือน
       
       ทั้งนี้ การปรับกลยุทธ์ดังกล่าว ด้วยการให้เชิญลูกบ้านพบธนาคารเพื่อพิจารณาสินเชื่อล่วงหน้าก่อนที่โครงการจะแล้วเสร็จ นอกจากนี้ ยังเสนอให้ลูกค้ายื่นขอสินเชื่อจากธนาคารหลายๆแห่ง หากกู้ไม่ผ่านก็เปลี่ยนธนาคารใหม่ และหากธนาคารใดอนุมัติสินเชื่อก่อนก็เลือกธนาคารแห่งนั้น นอกจากนี้ บริษัทยังตรวจสอบสถาบันการเงินที่อนุมัติสินเชื่อให้แก่ลูกค้ามากๆ ก็จะส่งรายชื่อให้แก่ธนาคารแห่งนั้นมากตามไปด้วย กลยุทธ์ข้างต้นทำให้บริษัทสามารถรักษาระดับอัตราการปฏิเสธสินเชื่อไว้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาได้
       
       นายโอภาส กล่าวต่อว่า สำหรับภาวะตลาดคอนโดมิเนียมในช่วงต้นปีที่ผ่านมา พบว่าปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 6 สัปดาห์แรกของปียอดขายลดลงต่อเนื่องมาจากช่วงเดือนธันวาคม ปี 2551 แต่นับจากนั้นมา ยอดขายปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจากสถิติของบริษัทพบว่า มียอดเยี่ยมชมโครงการเฉลี่ย 353 ราย/สัปดาห์ และมียอดขาย 113 ยูนิต/สัปดาห์ หรือเฉลี่ย 4 : 1 ในขณะที่ปีที่แล้ว เฉลี่ยมีผู้เยี่ยมชมโครงการ 350 ราย และมียอดขายเฉลี่ย 109 ยูนิต/สัปดาห์
       
       จากสถิติดังกล่าว ทำให้บริษัทตัดสินใจลงทุนเพิ่ม ด้วยการซื้อที่ดิน 3 แปลง ได้แก่ 1. ย่านรามอินทรา-นวมินทร์ เลยโรงพยาบาลสินแพทย์ไปเล็กน้อย จำนวน 15 ไร่ ราคา 188 ล้านบาท โดยมีแผนจะพัฒนาคอนโดมิเนียมแบรนด์ คอนโดทาวน์ ราคาเริ่มต้น 6.99 แสนบาท สร้างเป็นอาคารสูง 26 ชั้น จำนวน 2,5000 ยูนิต มูลค่า 2,250 ล้านบาท เปิดตัว 6 มิถุนายนนี้
       
       2. ย่านราชบูรณะ จำนวน 5 ไร่ ราคา 72 ล้านบาท อยู่ตรงข้ามโครงการไอวี ของบริษัทพฤกษา เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน) พัฒนาเป็นคอนโดมิเนียมสูง 30 ชั้น 2 อาคาร จำนวน 1,100 ยูนิต มูลค่า 1,200 ล้านบาท เปิดตัว 17 มิถุนายนนี้ และ 3. ย่านปิ่นเกล้า ขนาด 12 ไร่ (เป็นที่ดินของกลุ่มบริษัทปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ) ราคา 470 ล้านบาท พัฒนาเป็นอาคารสูง 30 ชั้นจำนวน 4 อาคาร 2,400 ยูนิต มูลค่า 3,100 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถเปิดตัวได้ประมาณ กลางไตรมาส 3 ของปีนี้ ทั้งนี้ทุกโครงการจะทยอยเปิดที่ละเฟส เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจและภาวะการเมือง โดยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 1 ปี และจะสามารถรับรู้รายได้ในปีหน้า นอกจากนี้บริษัทจะเปิดตัวอีก 2 โครงการ ได้แก่ เฟสต่อเนื่องจองโครงการย่านพระราม 9 และอีกโครงการอยู่ระหว่างหาที่ดิน
       
       “แม้ว่าภาวะตลาดจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น และซับพลายตามแนวรถไฟฟ้าเริ่มเหลือน้อยลงแล้ว แต่บริษัทยังไม่ลงเล่นในตลาดนี้ เพราะเมื่อเรามองเห็นคนอื่นก็เห็นด้วย มีผู้ประกอบการหลายรายรอจังหวะนี้อยู่ เราไม่ต้องการเข้าไปในตลาดที่มีคู่แข่งเยอะและเรามีประสบการณ์ในการพัฒนาคอนโดมิเนียมมานาน ทำให้กล้าที่จะเข้าไปในตลาดที่ไม่มีใครกล้ามาแข่งขันด้วย”
       
       นอกจากนี้ หากพิจารณาจากสถิติของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ยังพบว่า ปัจจุบันประชากรในเขตกรุงเทพฯ เช่าอพาร์ตเมนต์อยู่ประมาณ 30-40% ของประชากรทั้งหมด 10 กว่าล้านคน หากเฉลี่ยง่ายๆ คือประมาณ 3-4 ล้านคน และในจำนวนนี้เช่าที่อยู่อาศัย 3,000-4,000 บาท/เดือน ประมาณ 1.5 ล้านคน ทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทยังมีอีกจำนวนมาก
       
       สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทในไตรมาส 1/52 บริษัทมีรายได้รวม 2,036.42 ล้านบาท โตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อหน้า 46.44% จากยอดขาย 1,390.59 ล้านบาท กำไรสุทธิ 364.46 ล้านบาท โตขึ้น 78.37% จาก 204.33 ล้านบาทในไตรมาส 1/51 ส่วนเป้าหมายการดำเนินงานในปีนี้ตั้งเป้ายอดขาย 10,000 ล้านบาท ยอดรายได้รวม 8,000 ล้านบาท

อ่านต่อที่ : LPNเร่งยอดโอนคอนโดฯ

รัฐบาลสหรัฐฯเสนอระเบียบคุมตราสารอนุพันธ์ พฤษภาคม 15, 2009

Posted by 1000thainews in ข่าวด่วน.
Tags: , , , , , , , , , , , , , ,
add a comment

รัฐบาลสหรัฐฯเสนอระเบียบคุมตราสารอนุพันธ์

รัฐบาลสหรัฐฯเสนอระเบียบคุมตราสารอนุพันธ์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
15 พฤษภาคม 2552 00:25 น.

       คณะรัฐบาลสหรัฐฯเมื่อวันพุธ (12) เสนอระเบียบใหม่ในการกำกับดูแลการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ อันเป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีความซับซ้อน ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่วิกฤตการเงินของโลกเมื่อปีที่แล้ว
       
       ระเบียบใหม่มีเป้าหมายที่จะป้องกันมิคสัญญีทางการเงินที่เกิดขึ้นหลังจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่หลายแห่งล้มครืนลงจากการค้าตราสารอนุพันธ์ โดยที่เห็นได้ชัดก็คือ วาณิชธนกิจ เลห์แมน บราเธอร์ส ในขณะที่บริษัทเอไอจี ก็ประสบภาวะขาดทุนมหาศาลจนราคาหุ้นดิ่งเหว และตกจากอันดับบริษัทประกันภัยใหญ่ที่สุดในโลกเพราะขนาดสินทรัพย์เหลือไม่ถึงครึ่งของระดับเดิม
       
       ระเบียบที่นำเสนอโดยกระทรวงการคลังนี้ เรียกร้องให้กำหนดเงื่อนไขด้านเงินทุนสำหรับบริษัทที่ค้าตราสารอนุพันธ์ นอกจากนี้ยังกำหนดให้ตราสารประเภทเหล่านี้จำนวนมาก จะต้องซื้อขายผ่านทางกิจการที่มีการกำหนดระเบียบควบคุมเอาไว้
       
       ในปัจจุบันแต่ละวันจะมีการค้าตราสารอนุพันธ์เป็นมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีทั้งประเภทที่เป็นสัญญาตราสารฟิวเจอร์ และสัญญาออปชั่นต่าง ๆ โดยจำนวนมากทีเดียวซื้อขายกันนอกตลาดที่มีกฎระเบียบคุมเข้ม
       
       ตราสารอนุพันธ์ประเภทที่มีการกล่าวขวัญกันถึงว่า เป็นต้นเหตุแห่งวิกฤตมากที่สุด ก็คือ เครดิต ดีฟอลต์ สวอป (credit default swap) ซึ่งเป็นตราสารที่รับประกันว่าหากมีหลักทรัพย์บางชนิดที่ผู้ซื้อเครดิต ดีฟอลต์ สวอป ถือเอาไว้ เกิดเสียหายไป ผู้ซื้อก็จะได้รับเงินทดแทนจากบริษัทที่ออกตราสารนี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ซึ่งเป็นตำนานของนักลงทุนสหรัฐฯถึงกับเรียกตราสารชนิดนี้ว่า “อาวุธการเงินที่มีอำนาจการทำลายล้างสูง”

อ่านต่อที่ : รัฐบาลสหรัฐฯเสนอระเบียบคุมตราสารอนุพันธ์

รบ.สหรัฐฯเสนอระเบียบคุมตราสารอนุพันธ์ พฤษภาคม 15, 2009

Posted by 1000thainews in ต่างประเทศ.
Tags: , , , , , , , , , , , , , ,
add a comment

รบ.สหรัฐฯเสนอระเบียบคุมตราสารอนุพันธ์

รบ.สหรัฐฯเสนอระเบียบคุมตราสารอนุพันธ์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
15 พฤษภาคม 2552 00:25 น.

สำนักงานของเอไอจีในนครนิวยอร์ก ซึ่งล้มครืนหลังการค้าตราสารอนุพันธ์

       เอเอฟพี – คณะรัฐบาลสหรัฐฯเมื่อวันพุธ (12) เสนอระเบียบใหม่ในการกำกับดูแลการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ อันเป็นเครื่องมือทางการเงินที่มีความซับซ้อน ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่วิกฤตการเงินของโลกเมื่อปีที่แล้ว
       
       ระเบียบใหม่มีเป้าหมายที่จะป้องกันมิคสัญญีทางการเงินที่เกิดขึ้นหลังจากสถาบันการเงินขนาดใหญ่หลายแห่งล้มครืนลงจากการค้าตราสารอนุพันธ์ โดยที่เห็นได้ชัดก็คือ วาณิชธนกิจ เลห์แมน บราเธอร์ส ในขณะที่บริษัทเอไอจี ก็ประสบภาวะขาดทุนมหาศาลจนราคาหุ้นดิ่งเหว และตกจากอันดับบริษัทประกันภัยใหญ่ที่สุดในโลกเพราะขนาดสินทรัพย์เหลือไม่ถึงครึ่งของระดับเดิม
       
       ระเบียบที่นำเสนอโดยกระทรวงการคลังนี้ เรียกร้องให้กำหนดเงื่อนไขด้านเงินทุนสำหรับบริษัทที่ค้าตราสารอนุพันธ์ นอกจากนี้ยังกำหนดให้ตราสารประเภทเหล่านี้จำนวนมาก จะต้องซื้อขายผ่านทางกิจการที่มีการกำหนดระเบียบควบคุมเอาไว้
       
       ในปัจจุบันแต่ละวันจะมีการค้าตราสารอนุพันธ์เป็นมูลค่าหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีทั้งประเภทที่เป็นสัญญาตราสารฟิวเจอร์ และสัญญาออปชั่นต่าง ๆ โดยจำนวนมากทีเดียวซื้อขายกันนอกตลาดที่มีกฎระเบียบคุมเข้ม
       
       ตราสารอนุพันธ์ประเภทที่มีการกล่าวขวัญกันถึงว่า เป็นต้นเหตุแห่งวิกฤตมากที่สุด ก็คือ เครดิต ดีฟอลต์ สวอป (credit default swap) ซึ่งเป็นตราสารที่รับประกันว่าหากมีหลักทรัพย์บางชนิดที่ผู้ซื้อเครดิต ดีฟอลต์ สวอป ถือเอาไว้ เกิดเสียหายไป ผู้ซื้อก็จะได้รับเงินทดแทนจากบริษัทที่ออกตราสารนี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ซึ่งเป็นตำนานของนักลงทุนสหรัฐฯถึงกับเรียกตราสารชนิดนี้ว่า “อาวุธการเงินที่มีอำนาจการทำลายล้างสูง”
       
       เมื่อปีที่แล้ว ระบบการเงินของสหรัฐฯเกือบจะพังทลายลงมา หลังจากที่เอไอจีและเลห์แมน บราเธอร์สน่าจะขาดทุนหลายล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯจากตราสารซับไพรม์ที่ขาดสภาพคล่องโดยสิ้นเชิงแล้ว
       
       นอกจากนั้น ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลสหรัฐฯคราวนี้ ยังเป็นการสานต่อผลการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20 เมื่อต้นเดือนเมษายน ซึ่งได้ให้คำมั่นกันไว้ในเรื่องการคุมเข้มตลาดการเงินของโลก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอย และฉุดลากให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะทรุดตัวรุนแรงอีกในอนาคต
       
       คำแถลงของกระทรวงการคลังกล่าวว่า ระเบียบใหม่นี้มีเป้าหมายที่จะแก้ไข “ความอ่อนแอและช่องโหว่มากมาย” ในระบบการเงิน นอกจากนี้ยังระบุอีกว่าพวกบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ตลอดจนหน่วยงานกำกับดูแล “ไม่เข้าใจ หรือไม่ได้คิดรับมือ” ความเสี่ยงจากตราสารอนุพันธ์ขึ้นมาตรวจสอบ จวบจนกระทั่งเกิด “ความเสียหายอย่างใหญ่หลวง” อันนำไปสู่การสูญเสียความเชื่อมั่นของระบบการเงินทั้งหมด
       
       โดยทางทฤษฎีแล้ว ตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือที่มุ่งจะลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในระบบการเงิน ด้วยการเสนอให้หลักประกันความผันผวนด้านราคา รวมทั้งการไม่ชำระหนี้ทั้งปวง แต่มิคสัญญาทางการเงินที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่า “ความเสี่ยงอันมหาศาลของตลาดตราสารอนุพันธ์นั้น กลับไม่ได้รับการสนใจจากทั้งผู้กำกับดูแลและผู้เล่นในตลาดแม้แต่น้อย”
       
       ดังนั้นระเบียบใหม่จึงถูกร่างขึ้นโดยมีเป้าหมายที่จะ “ก่อให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น รวมทั้งสร้างกฎเกณฑ์ให้กับตลาดเหล่านี้”
       
       กระทรวงการคลังสหรัฐฯบอกด้วยว่าจะร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ “เพื่อส่งเสริมการใช้กฎระเบียบที่คล้ายคลึงกันนี้ทั่วโลก

อ่านต่อที่ : รบ.สหรัฐฯเสนอระเบียบคุมตราสารอนุพันธ์

เดอะมอลล์ดันซิตี้ แอดวานซ์ เจาะเอสเอ็มอี พฤษภาคม 15, 2009

Posted by 1000thainews in เศรษฐกิจ.
Tags: , , , , , , , , , , , , , ,
add a comment

เดอะมอลล์ดันซิตี้ แอดวานซ์ เจาะเอสเอ็มอี

นางวรรณา เพิ่มสุวรรณ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เปิดเผยว่า เดอะมอลล์ได้ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจ บริษัท ซิตี้คอร์ป ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการสินเชื่อบุคคลภายใต้ชื่อ “ซิตี้ แอดวานซ์” ให้บริการทางการเงินครบวงจรผ่านเซอร์วิส ช้อป ซิตี้ แอดวานซ์ ภายในเดอะมอลล์ ปัจจุบันเปิดบริการ 5 แห่งด้วยกัน ได้แก่ รามคำแหง ท่าพระ บางแค บางกะปิ และงามวงศ์วาน และเตรียมเปิดสาขานครราชสีมา และพารากอน ภายในไตรมาส 2 นี้

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ การเมือง ในปัจจุบัน ทำให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้มากขึ้นและต้องการที่ปรึกษาหรือวางแผนทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

“ลูกค้ายังมีความต้องการสินค้าและบริการแต่ก็ต้องรักษาสภาพคล่องทางการเงินหากเรามีบริการที่ตรงใจเชื่อว่าจะส่งผลดีต่อยอดการจับจ่ายของลูกค้าด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ที่จะต้องใช้เงินหมุนเวียนประกอบกิจการแต่เวลานี้สถาบันการเงินเองก็ค่อนข้างเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อนางวรรณา กล่าว และว่าปัจจุบัน กลุ่มเดอะมอลล์ มีฐานสมาชิกผ่านบัตรซิตี้ เอ็ม วีซ่า 1.5 แสนราย

โดยพบว่ายอดการใช้จ่ายผ่านบัตรดังกล่าวเฉลี่ย 1.3-1.4 หมื่นบาทต่อบิล สูงกว่าบัตรทั่วไปที่มียอดการใช้จ่ายอยู่ที่ 7,000-8,000 บาทต่อบิล

สำหรับผลิตภัณฑ์ของซิตี้ แอดวานซ์ ในศูนย์การค้าเดอะมอลล์ ประกอบด้วย บริการให้คำปรึกษาทางการเงิน เพื่อให้บริหารจัดการภาระหนี้สินได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมกับมีไลฟ์สไตล์อย่างที่ต้องการ สินเชื่อบุคคลซิตี้ เอ็ม เพอร์ซันนัลโลน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ซิตี้ เอ็ม คาร์แคช เป็นต้น

อ่านต่อที่ : เดอะมอลล์ดันซิตี้ แอดวานซ์ เจาะเอสเอ็มอี