jump to navigation

ชาวสวนลิ้นจี่ ขู่ปิดถนนยาว ขอเงินชดเชย พฤษภาคม 15, 2009

Posted by 1000thainews in อื่นๆ.
Tags: , , , , , , , , , , , , , ,
add a comment

ชาวสวนลิ้นจี่ ขู่ปิดถนนยาว ขอเงินชดเชย

นายอดุลย์ชัย อินต๊ะขาว ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกลิ้นจี่เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ในวันที่ 16 พ.ค.นี้ หากรัฐบาลไม่จ่ายเงินชดเชยลิ้นจี่กิโลกรัมละ 3 บาทตามข้อเรียกร้อง เกษตรกร 5,000 คนจะนำลิ้นจี่คนละ 1 กิโลกรัม มากองหน้าที่ว่าการอำเภอฝาง และจะปิดถนนประท้วงอย่างยืดเยื้อ

ทั้งนี้ เพื่อตอบโต้ที่รัฐบาล เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของเกษตรกร เพราะให้เวลารัฐบาลมานาน แต่รัฐบาลก็ยังซื้อเวลาอยู่เรื่อยๆ ไม่สนใจความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ราคาผลผลิตลดลงกว่า 50% แม้ทางจังหวัดจะมารับหนังสือด้วยตนเอง แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่าเกษตรกรจะได้ รับคำตอบที่น่าพอใจ

อย่างไรก็ตาม วานนี้ชาวสวนลิ้นจี่ใน อ.ฝาง แม่อาย และ ไชยปราการ กว่า 500 คน รวมตัวประท้วงอยู่หน้าที่ว่าการอำเภอฝาง เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือต้นทุนผลิตกิโลกรัมละ 3 บาท และตั้งกองทุนช่วยเหลือชาวสวนลิ้นจี่ในระยะยาว วงเงิน 250 ล้านบาท

อ่านต่อที่ : ชาวสวนลิ้นจี่ ขู่ปิดถนนยาว ขอเงินชดเชย

กันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอย่างไรดี / รศ.ร.อ.นพ.ชลเวช ชวศิริ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ พฤษภาคม 14, 2009

Posted by 1000thainews in คุณภาพชีวิต.
Tags: , , , , , , , , , , ,
add a comment

กันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอย่างไรดี / รศ.ร.อ.นพ.ชลเวช ชวศิริ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

กันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอย่างไรดี / รศ.ร.อ.นพ.ชลเวช ชวศิริ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
14 พฤษภาคม 2552 06:24 น.

       รู้ไหม “โรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท” เป็นโรคสุดฮิตที่เกิดกับหลังอันดับต้นๆ นอกจากปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังธรรมดาแล้ว จะทำอย่างไรที่จะเยียวยาให้หายรามคำตอบค่ะ
       

       รู้จักหมอนรองกระดูก
       อวัยวะที่เรียกว่า หมอนรองกระดูก (Intervertebral disc) มีลักษณะรูปร่างเป็นวงกลม มีขอบเป็นพังผืดเหนียว ภายในมีของเหลวคล้ายเจลบรรจุอยู่ หมอนรองกระดูกนี้คั่นกลางอยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทก เปรียบได้กับเป็น “โช้กอัพ” ให้กระดูกสันหลังของเรา
        
       เมื่อหมอนรองกระดูกได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง ของเหลวในหมอนรองกระดูกจะมีโอกาสทะลักออกมากดทับเส้นประสาทที่อยู่ข้างเคียง ทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง หลายคนอาจคิดว่า โรคนี้เกิดเฉพาะผู้สูงวัย แต่ความจริงแล้วพบได้ในวัยหนุ่มสาวอายุ 20 ปี ขึ้นไป มักเกิดจากการดำเนินชีวิตประจำวันที่ต้องใช้หลังผิดท่าทาง เช่น การยกของหนัก การนั่งนานๆ การไอหรือจามแรงๆ การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาที่ต้องออกแรงผ่านหลังมากๆ เช่น การตีกอล์ฟ เป็นต้น

       เมื่อเส้นประสาทถูกกดทับ เส้นประสาทจะเกิดการอักเสบ หากเส้นประสาทที่ถูกกดทับเป็นเส้นที่เชื่อมโยงกับขาจะส่งผลให้มีอาการปวดร้าวบริเวณขา ซึ่งเป็นอาการเด่นของโรคในบริเวณกระดูกสันหลังส่วนบั้นเอว บางรายมีอาการชาตั้งแต่เอวร้าวลงขาหรือหลังเท้า ตามมาด้วยกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง และที่สุดอาจถึงกับสูญเสียการควบคุมระบบขับถ่าย
       
       บำบัดโรคอย่างไรดี
       หากเกิดอาการโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท ควรพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะให้การรักษาตามลำดับดังนี้
       1.กินยาระงับปวด เพื่อลดการอักเสบ
       2.ทำกายภาพ
       3.ฉีดยาลดการอักเสบที่เส้นประสาท
       4.ผ่าตัด
ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธี คือ

       4.1 การผ่าตัดด้วยวิธีจุลศัลยกรรม (Microdiscectomy) โดยใช้กล้อง Microscope ช่วยในการผ่าตัด โดยกล้องจะอยู่ภายนอกร่างกาย จากนั้นใส่อุปกรณ์เข้าไปเพื่อเลาะกล้ามเนื้อออกจากกระดูกเป็นแนวยาว แล้วทำการตัดกระดูกบางส่วนออกเพื่อให้สามารถผ่าตัดตำแหน่งที่มีการกดทับของเส้นประสาทได้ วิธีนี้ทำให้เกิดความบอบช้ำต่อกล้ามเนื้อและอวัยวะข้างเคียง ซ้ำมีแผลขนาดประมาณ 3-5 เซนติเมตร
       
       4.2 การผ่าตัดแบบ Full Endoscopic Spinal Surgery เป็นการพัฒนามาจากวิธีจุลศัลยกรรม วิธีการโดยเจาะและสอดกล้อง Endoscope ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร ซึ่งมีเลนส์ติดอยู่ส่วนปลายผ่านใยกล้ามเนื้อไปยังหมอนรองกระดูกส่วนที่กดทับเส้นประสาท จากนั้นใส่เครื่องมือผ่าตัดผ่านกล้องเข้าไปตัดหมอนรองกระดูกโดยตรง ข้อดีคือ สามารถมองได้ทุกมุมในบริเวณที่จะผ่าตัด และอุปกรณ์มีระบบน้ำไหลเวียน สามารถชะล้างสิ่งที่ผ่าตัด ทำให้มองเห็นชัดเจนตลอดเวลา

       กันไว้ดีกว่า
       แพทย์ส่วนใหญ่มักให้คำแนะนำว่า สิ่งที่ดีกว่าการรักษา คือ การป้องกันแต่เนิ่นๆ เพียงแค่ใช้หลังอย่างถูกวิธี โดยหลีกเลี่ยงการยกของหนัก หากต้องนั่งนานๆ ควรหาโอกาสเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ และควรหมั่นบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้องให้แข็งแรง ก็จะยืดอายุการใช้งานของหมอนรองกระดูกไม่ให้เสื่อม สภาพก่อนวัยอันควร
       ลองนำไปปฏิบัติดู สุขภาพดีอยู่ที่หมั่นทำอย่างต่อเนื่องค่ะ
       
       เรียบเรียง: ยุพดี ห่อเนาวรัตน์
       
       
       
       เลี้ยงลูกขวบปีแรกนั้นสำคัญไฉน
       
“เราอยากให้พ่อแม่ได้มาเรียนรู้ และฝึกฝนในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อความมั่นใจ และนำไปใช้ได้จริงๆ ค่ะ ส่วนลูกๆ เอง ก็อยากจะบอกว่า แม่ค่ะ (ครับ) หนูขอบคุณพ่อแม่มากเลย ที่ทำให้หนูอยู่ในโลกใบนี้อย่างปลอดภัย หนูมีความสุขมากเลยค่ะ รักพ่อและแม่มากๆ”

       
       คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ขอเชิญชวนพ่อแม่ผู้สนใจฟังการบรรยายความรู้ในโครงการศิริราชสอนเลี้ยงลูกเรื่อง “การเลี้ยงลูกขวบปีแรก” กับอาจารย์พิกุล ขำศรีบุศ ผู้เชี่ยวชาญการดูแลเด็กแรกเกิด พร้อมรับเอกสารและอาหารว่าง ในวันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม 2552 เวลา 13.00-16.00 น. ณ ห้องตรีเพ็ชร์ อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ ชั้น 15 รพ.ศิริราช สำรองที่นั่งฟรี โทร. 0-2419-5722, 0-2419-7626 หรือโทรสาร 0-2419-9453

อ่านต่อที่ : กันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอย่างไรดี / รศ.ร.อ.นพ.ชลเวช ชวศิริ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

เมื่อใบหน้ากระตุกครึ่งซีก / ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประสาทอายุรแพทย์ พฤษภาคม 13, 2009

Posted by 1000thainews in คุณภาพชีวิต.
Tags: , , , , , , , , , , ,
add a comment

เมื่อใบหน้ากระตุกครึ่งซีก / ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประสาทอายุรแพทย์
หน้าแรกผู้จัดการ Online | หน้าแรกคุณภาพชีวิต | สุขภาพ

สุขภาพ สายตรงสุขภาพกับศิริราช

ShowMemberLite()

เมื่อใบหน้ากระตุกครึ่งซีก / ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประสาทอายุรแพทย์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 พฤษภาคม 2552 07:24 น.

       หน้าตาคนเรา ถือเป็นส่วนสำคัญของร่างกาย ที่ทุกคนต่างทำให้ใบหน้าของตนดูงามเป็นที่น่าพบเห็น แต่มีบางคนที่ประสบภาวะใบหน้ากระตุกครึ่งซีก ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจเสียบุคลิก แล้วจะทำอย่างไร เรามีคำตอบให้คุณค่ะ

       รู้จักอาการ
       ภาวะใบหน้ากระตุกครึ่งซีก เป็นโรคที่พบมากในชาวเอเชีย สาเหตุยังไม่มีใครทราบแน่ชัด พบได้ทั้งหญิงชาย โดยเฉลี่ยอายุประมาณ 20-60 ปี คนไข้จะเริ่มด้วยอาการเหมือนตาเขม่น อาจจะมีการกระตุกของกล้ามเนื้อบริเวณใต้ลูกตาข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นอาจเป็นมากขึ้นจนทำให้เกิดการกระตุกที่มุมปากและในที่สุดจะมีการกระตุกทั้งซีกบริเวณใบหน้าจนทำให้ตาตี่หรือตาหลิ่ว และปากเบี้ยวเป็นพักๆ
        
       สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีภาวะใบหน้ากระตุกครึ่งซีกเป็นมากขึ้น ได้แก่
       1.อดนอน
       2.เครียด วิตกกังวล
       3.ใช้สายตามากติดต่อกันระยะเวลานาน

       การวินิจฉัย
       แพทย์จะซักประวัติและตรวจร่างกายตามปกติ โดยไม่จำเป็นต้องตรวจค้นด้วยวิธีพิเศษทางคอมพิวเตอร์สแกนสมอง หรือตรวจด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าของสมองแต่อย่างใด เพราะการตรวจด้วยวิธีดังกล่าวมักจะไม่พบพยาธิสภาพหรือข้อบ่งชี้ว่าคนไข้เหล่านี้เกิดอาการด้วยพยาธิสภาพใด อันตรายหรือไม่
       
       หลายคนกังวลว่าโรคนี้เกิดจากเนื้องอกของสมอง หรือเป็นความผิดปกติที่ร้ายแรง แต่โดยทั่วไปคนไข้กลุ่มใบหน้ากระตุกครึ่งซีกจะไม่มีอาการของโรครุนแรงเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น ถือว่าเป็นภาวะที่ไม่รุนแรง แต่มีข้อเสีย คือ ผู้ป่วยจะเกิดความรำคาญ หรือไม่มั่นใจเมื่อต้องอยู่ในสังคมจนเกิดเป็นปมด้อยได้
       
       แม้ในปัจจุบันจะไม่รู้ว่าสาเหตุแน่ชัด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าอาจจะมีหลอดเลือดบริเวณก้านสมองที่ผิดปกติไปแตะอยู่บนประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งเป็นประสาทที่มาควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าตลอดเวลา จึงทำให้มีการปล่อยกระแสไฟฟ้ามากเกินไป ทำให้เกิดใบหน้ากระตุกครึ่งซีก
        
       อย่างไรก็ตาม พบว่า คนไข้บางรายไม่เคยมีพยาธิสภาพของหลอดเลือดผิดปกติดังกล่าวมาแตะบริเวณเส้นประสาทเลย และยิ่งกว่า นั้นคนไข้จำนวนหนึ่งที่ได้รับการผ่าตัดแยกหลอดเลือดที่มาแตะบนประสาทสมองคู่ที่ 7 นี้ออกไปแล้ว อาจทำให้หายชั่วคราว แต่คนไข้เกินกว่าครึ่งมักกลับมาเป็นอีกภายหลังการผ่าตัด 3-5 ปี ดังนั้น การแก้ปัญหาโดยวิธีดังกล่าวจึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษา

       ประเทศไทยมีการรักษาอย่างไร
       
คนไข้จะได้รับการบำบัดรักษาหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
       1.ยา อาจใช้ยากลุ่มออกฤทธิ์กล่อมประสาทบำบัดรักษาได้เช่นกัน แต่ผลข้างเคียงค่อนข้างสูง ผู้ป่วยจะง่วงนอน และไม่สามารถปฏิบัติภารกิจประจำวันได้ ขณะเดียวกัน ผลของการควบคุมการกระตุกของกล้ามเนื้อใบหน้าพบว่ามีประสิทธิผลเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น
       
       2.ฉีดสารโบทูลินัม ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากเชื้อแบคทีเรีย Clostidium botulinum ซึ่งขณะนี้เป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด ออกฤทธิ์โดยสกัดกั้นกระแสไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากปลายประสาทมายังบริเวณ presynaptic site ของกล้ามเนื้อใบหน้าโดยตรง ทำให้ไม่สามารถหลั่งสาร acetyl choline ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทออกมาได้

       
       ดังนั้น คำสั่งที่มายังกล้ามเนื้อจึงลดปริมาณลง มีผลให้การกระตุกของกล้ามเนื้อลดลง อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวเป็นการรักษาตามอาการ ผู้ป่วยต้องมาฉีดสารโบทูลินัมทุกๆ 3-6 เดือน ตามระยะเวลาของยาที่ออกฤทธิ์ ซึ่งการรักษาโดยวิธีนี้ได้ผลราวร้อยละ 85
       
       3.วิธีรักษาอื่นๆ เช่น การผ่าตัด ถือเป็นวิธีที่มีความเสี่ยงสูง เพราะอาจเกิดผลแทรกซ้อน เช่น หูหนวก ปากเบี้ยว มีเลือดออกที่ก้านสมอง เลือดออกในสมองน้อยจนทำให้หมดสติ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดภาวะเจ้าชายนิทรา หรือเสียชีวิต เพราะตำแหน่งของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อยู่ใกล้กับก้านสมองและสมองน้อย ซึ่งเป็นตำแหน่งสำคัญของสมองนั่นเอง แม้การรักษาด้วยวิธีนี้จะได้ผลราวร้อยละ 85 แต่ราว ร้อยละ 50 อาจมีอาการเกิดซ้ำได้อีกหลังผ่าตัดแล้ว 5 ปี
       
       แต่ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด อย่าเพิ่งกังวลเกินไป เพราะหากทำจิตใจให้สบาย พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมทั้งลดการใช้สายตาและความกังวลลงได้ อาการก็จะค่อยๆ ทุเลาลงครับ
       
       เรียบเรียง: ยุพดี ห่อเนาวรัตน์
       
       
       
       หลากมุมมองจากไข้หวัดใหญ่ 2009
       มหาวิทยาลัยมหิดล เชิญชวนร่วมฟังเสวนา
อ่านต่อที่ : เมื่อใบหน้ากระตุกครึ่งซีก / ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ประสาทอายุรแพทย์